ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    036575 พระราชอำนาจในการพระราชอภัยโทษนายนรากร มุกดาประดับ นศ.มสธ.17 สิงหาคม 2552

    คำถาม
    พระราชอำนาจในการพระราชอภัยโทษ

    เรียน คุณมีชัย

    ขอกรุณาคุณมีชัย ตอบคำถามของกระผม โดยเริ่มจากข้อถามพื้นฐานเรื่อยไป

    1. ตามโบราณราชประเพณีพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจมาก แต่ปัจจุบันพระเจ้าแผ่นดินอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเป็นปัญหาว่าพระราชอำนาจนั้นมีอยู่มากอย่างเดิม หรือถูกจำกัดหรือลดลงโดยรัฐธรรมนูญหรือไม่

    2. หากพระราชอำนาจไม่ถูกจำกัดหรือลดลงแล้ว พระเจ้าแผ่นดินมีสิทธิใช้พระราชอำนาจเหนือจากที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ เพราะพระเจ้าแผ่นดินสหราชอาณาจักรบางพระองค์ก็ปรากฏทำมาบ้าง

    3. การพระราชทานอภัยโทษมีมาแต่อดีตกาล และยังไม่มีรัฐธรรมนูญดังในปัจจุบันกาล พระเจ้าแผ่นดินมีพระราชอำนาจพระราชทานอภัยโทษโดยมิต้องกำหนดในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่นใด แต่มาบัดนี้ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า " มาตรา 191 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ " และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ภาค 7 มีหลักเกณฑ์พอสรุปว่า บุคคลต้องโทษอาญาหรือโทษอื่นใดตามกำหนดในรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ฯลฯ มีสิทธิในการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ หรือไม่มีบุคคลต้องโทษใดขอพระราชทานอภัยโทษ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีถวายความเห็นต่อพระเจ้าแผ่นดินเพื่อพระราชทานอภัยโทษได้ โดยพระราชทานอภัยโทษแก่โทษขอให้บรรเทาหรือยกเลิกไป โทษอื่นที่มีได้ขอยังคงอยู่ จึงเป็นปัญหาว่า เมื่อรัฐธรรมนูญมีฐานะสูงกว่าประมวลกฎหมายฯ แล้วบัญญัติความดังกล่าวในข้างต้น โดยมิได้กำหนดว่าสิทธิพระราชทานอภัยโทษไว้อย่างกว้าง ไม่เจาะจง จักเป็นปัญหาต่อการตีความกฎหมายที่อ้างอิงใช้ขอพระราชอภัยโทษหรือไม่ เพราะบางท่านใช้รัฐธรรมนูญ บางท่านใช้ประมวลกฎหมายฯ

    4. หากว่ามีการขอพระราชทานอภัยโทษแล้ว พระเจ้าแผ่นดินมีพระบรมราชวินิจฉัยเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงใช้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 191 หรือทรงใช้ตามประมวลกฎหมายฯ ทำได้หรือไม่

    5. การถวายฎีกาเห็นว่า ผ่านทางคณะองคมนตรีก็มี ราชเลขาธิการก็มี ฯลฯ มีขอแตกต่างกันหรือ จึงมีทางถวายหลายช่อง

    6. บางท่านถวายราชเลขาธิการด้วยนิยมมาก เพราะถึงเร็วอย่างนั้นหรือ จึงเจาะจงถวายเช่นนั้น

    ปัจฉิมลิขิต หากมีความใดต่างจากข้อถาม 6 ข้อนี้ ไม่ให้ใช้ถาม ให้ใช้ถามแต่ความดังปรากฏ 6 ข้อนี้เท่านั้น คอมพิวเตอร์คัดข้องเล็กน้อย ไม่แน่ว่ามีข้อความถึงท่านก่อนข้อถาม 6 ข้อนี้

    จึงเรียนมาเหื่อโปรดทราบ และความกรุณาจกขอบพระคุณยิ่ง

    นรากร มุกดาประดับ 17 สิงหาคม 2552

    คำตอบ

    เรียน คุณนรากร

    1.-2 เมื่อพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ การดำเนินการใด ๆ จึงต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวกับพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษนั้น บทบัญญัติของรัฐธํรรมนูญ มาตรา ๑๙๑ บัญญัติรับรองพระราชอำนาจดังกล่าวไว้อย่างไม่มีเงื่อนไข พระราชอำนาจดังกล่าวจึงครอบคลุมโทษทุกชนิดที่บุคคลได้รับ  แต่แม้กระนั้น การใช้พระราชอำนาจนั้น พระมหากษัตริย์จะทรงใช้ภายใต้กฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ อย่างน้อยก็ในเรื่องที่บัญญัติไว้ตามมาตรา ๑๙๕ คือ การที่ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ อันหมายความว่าจะมีผู้รับผิดชอบในพระบรมราชโองการนั้น  อนึ่ง บทบัญญัติเรื่องพระราชอำนาจดังกล่าวนี้มิใช่เพิ่งมีแต่เฉพาะในรัฐธรรมนูญนี้ หากแต่มีปรากฏในรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด

    3. บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๕๙ - ๒๖๗ เป็นบทบัญญัติถึงกระบวนการในการขอพระราชทานอภัยโทษของผู้ต้องโทษในทางอาญา ซึ่งใช้บังคับกับผู้ประสงค์จะขอพระราชทานอภัยโทษกับบรรดาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ว่ามีขั้นตอนและกลไกอย่างไร ก่อนที่เรื่องราวจะไปถึงพระมหากษัตริย์  มิได้เป็นบทบัญญัติที่จำกัดพระราชอำนาจตามที่มีในรัฐธรรมนูญ  และเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับหลักการในมาตรา ๑๙๕ ของรัฐธรรมนูญ จึงไม่เป็นการขัดกับรัฐธรรมนูญ

    4. บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นเพียงกระบวนการของการขอพระราชทานอภัยโทษ มิใช่เป็นบทบัญญัติให้อำนาจหรือจำกัดอำนาจของพระมหากษัตริย์ ในเวลาที่พระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจดังกล่าว การใช้พระราชอำนาจนั้นก็ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๑

    5. การที่ผู้ยื่นขอพระราชทานอภัยโทษจะยื่นต่อหน่วยงานใด ก็ย่อมมีผลเหมือนกัน กล่าวคือ หน่วยงานที่ได้รับไว้ก็จะต้องนำส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำความเห็นเสนอก่อนเสมอ เช่น ถ้าเป็นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษทางอาญา ถ้าไปยื่นทางสำนักราชเลขาธิการหรือสำนักองคมนตรี หน่วยงานนั้นก็จะส่งเรื่องมาให้รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในวิธีพิจารณาความอาญา ดังจะเห็นได้จากคำแถลงข่าวของสำนักราชเลขาธิการเมื่อเร็ว ๆ นี้

    ๖ ดูคำตอบข้อ ๕

          คำตอบข้างต้นใช้ได้กับกรณีการยื่นถวายฎีกาในกรณีปกติ ไม่ครอบคลุมถึงการกระทำที่ผู้กระทำประสงค์ผลในทางการเมือง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 สิงหาคม 2552