ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    037334 การเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของคุณยงยุทธ ติยะไพรัชเมตตา คำพัน30 กันยายน 2552

    คำถาม
    การเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของคุณยงยุทธ ติยะไพรัช

    กราบเรียนถามอาจารย์ถึงกรณีการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของคุณยงยุทธ  ติยะไพรัช  ซึ่งถูกศาลตัดสินให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งถึง 3  คดี  คือ

    - ศาลฎีกา แผนกคดีเลือกตั้ง มีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนด 5 ปี กรณีทุจริตการเลือกตั้งที่ จว.เชียงราย  มีผลนับแต่ 8 ก.ค.2551

    - ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนด 5 ปี ในฐานะที่เป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกยุบพรรค มีผลนับแต่  2  ธ.ค.2551

    - ศาลฎีกา แผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำสั่งให้ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง มีกำหนด 5  ปี ในคดีที่ยื่นบัญชีแสดงทรัพย์สินเป็นเท็จ นับแต่ 28 ก.ย.2552

    ซึ่งรวมแล้ว คุณยงยุทธ ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งถึง 15  ปี  แต่เท่าที่ผมทราบ การนับจำนวนปีที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะนับเป็นรายคดี  คดีแรกครบวันที่  8 ก.ค.2556 , คดีที่สองครบวันที่  2 ธ.ค.2556 และคดีที่ 3 ครบวันที่  28  ก.ย.2557  แทนที่จะนับต่อกันไปเป็นรายคดี รวม 15  ปี  ซึ่งจะไปครบในวันที่ 8 ก.ค.2566  

    ขอกราบเรียนถามอาจารย์ว่าเหตุใดการนับระยะเวลาการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งในกรณีดังกล่าว  จึงไม่นับเหมือนการลงโทษจำคุกตามกฎหมายอาญาครับ

    กราบขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

    กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจที่จะนับต่อกัน  ถ้าถามว่าแล้วทำไมกฎหมายถึงไม่เขียน  คำตอบก็คือ อาจเป็นได้ว่าผู้ร่างกฎหมายไม่ได้คิดว่าจะมีกรณีที่ใครถูกเพิกถอนซ้ำแล้วซ้ำอีก หรืออาจเป็นได้ว่าผู้ร่างเห็นว่า สิทธิเลือกตั้งเป็นสิทธิพื้นฐาน ไม่สมควรให้นับต่อเนื่องกัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 กันยายน 2552