ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013887 ภบท.5 และแบบแสดงรายการที่ดินซ้ำซ้อนสุมาลี3 พฤษภาคม 2548

    คำถาม
    ภบท.5 และแบบแสดงรายการที่ดินซ้ำซ้อน

    เรียน คุณมีชัย ที่เคารพ

       ดิฉันมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดินซึ่งมีเฉพาะ ภบท. 5 จำนวน 2 ไร่ (ไม่มีเอกสารสิทธิอื่นๆ เช่น โฉนด หรือ นส.3) โดยวันหนึ่งดิฉันได้เข้าไปทำการไถที่ดินและทำรั้วในที่ดินดังกล่าว แต่ปรากฏว่านาย ก. ได้เข้ามาแสดงสิทธิว่าเป็นเจ้าของที่ดินผืนนี้ ดิฉันจึงไปร้องเรียน อบต. ปรากฏว่า อบต. ได้ออกเอกสารแบบแสดงรายการที่ดินและภบท. 5 ซ้ำซ้อนกันระหว่างดิฉันและนาย ก. ทำให้เกิดข้อพิพาทในการที่จะเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดิน โดยดิฉันได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปัจจุบัน ส่วนนาย ก. เสียภาษีตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน และซึ่งทางกำนันได้เรียกให้ดิฉันและนาย ก. ไปเจรจายอมความกัน โดยมีทางเลือก ดังนี้

    1. ให้ดิฉันทำสัญญาซื้อที่ดินจากนาย ก. ในส่วนที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้เป็นที่ดินของนาย ก. แต่เพียงผู้เดียว

    2. ให้นาย ก. ทำสัญญาซื้อที่ดินจากดิฉัน ในส่วนที่ซ้ำซ้อนกัน เพื่อให้เป็นที่ดินของดิฉันแต่เพียงผู้เดียว

    3. ให้ทำการตกลงกันโดยโอนกรรมสิทธิ์ให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยฝ่ายผู้โอนกรรมสิทธิอาจจะเรียกร้องค่าใช้จ่ายบางส่วนจากผู้รับโอน เช่น ค่าไถที่ดิน หรือค่าทำรั้ว เป็นต้น ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ดิฉันเป็นผู้จ่ายไปแล้วก่อนหน้านี้

    โดยที่กำนันแจ้งว่าถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ในข้อใดข้อหนึ่ง ทางกำนันจะออกบันทึกข้อตกลงระหว่างดิฉันและนาย ก. เพื่อเป็นหลักฐานแสดงสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ต่อไป

    คำถาม

    1. บันทึกข้อตกลงที่กำนันจะเป็นผู้ออกให้นั้น สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานแสดงสิทธิในการเข้าทำประโยชน์ต่อไปได้หรือไม่ หากสามารถใช้ได้ บันทึกนั้นควรจะมีเนื้อหาอย่างไรและใครจะเป็นผู้ลงนามบ้าง (กำนัน หรือ อบต. หรือ ดิฉัน และ นาย ก.)

    2. เมื่อมีการโอนสิทธิระหว่างกันแล้วนั้น จะทำอย่างไรกับเอกสารแบบแสดงรายการที่ดินและ ภบท. 5 ที่ซ้ำซ้อนกันตั้งแต่ปี 2543 จนถีงปัจจุบัน ซึ่งเอกสารดังกล่าวถือว่าเป็นเอกสารราชการประเภทหนึ่ง ดังนั้นจะต้องมีบันทึกยกเลิกเอกสารดังกล่าวหรือไม่ และใครจะต้องเป็นผู้ลงนาม

    3. ดิฉันสามารถเลือกทางเลือกที่ 3 ได้หรือไม่

    ขอแสดงความนับถือ

    สุมาลี

    คำตอบ

    เรียน คุณสุมาลี

          ใบ ภบท.๕ เป็นเพียงแบบใบเสร็จรับเงินซึ่งทางราชการออกให้เมื่อมีคนมาเสียภาษีบำรุงท้องที่ ไม่ได้แปลว่าทางราชการยอมรับว่าคนนั้นมีสิทธิในที่ดินแปลงที่เสียภาษี  ทางราชการยอมรับแต่เพียงว่า มีผู้มาแจ้งว่าตนครอบครองที่ดินแปลงหนึ่ง มีเนื้อที่ตามที่เขาบอก และได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ให้เมื่อวันที่เท่านั้น ๆ  ส่วนผู้มาเสียภาษีจะมีสิทธิในที่ดินนั้นหรือไม่ ทางราชการไม่รู้

         1. การตกลงระหว่างคุณทั้งสองที่กำนันจะทำบันทึกให้นั้น ก็มีความหมายเพียงข้อยุติระหว่างคุณทั้งสองคน แต่ไม่ผูกพันคนอื่นหรือผูกพันรัฐ ถ้าที่ดินนั้นเป็นของคุณทั้งสองคนจริง คุณก็สามารถโอนหรือซื้อขายกันได้ แต่ถ้าไม่ใช่ คนที่ได้ไปก็ไม่ได้สิทธิอะไรเพิ่มขึ้น และหากวันหน้ามีใครมาอ้างอีก ก็ต้องไปสู้กับคนนั้นใหม่

         2. เขียนไว้ในสัญญาตกลงกันให้เว้นคืนใบเสร็จนั้นให้แก่คนที่ซื้อที่ดินนั้น

         3. คุณจะเลือกทางไหนก็ได้ เพราะเป็นข้อตกลงระหว่าง ๒ คน สุดแต่ความพอใจของทั้งสองคน 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 พฤษภาคม 2548