ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014234 หักเงินเดือนนำส่งได้มากสุดเท่าไหร่ครับนิติศาสตร์เชียงใหม่10 มิถุนายน 2548

    คำถาม
    หักเงินเดือนนำส่งได้มากสุดเท่าไหร่ครับ

    กราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ตอบคำถามผมมากครับ  อยากจะเรียนถามเพิ่มเติมอีกคือ ขณะนี้เจ้าพนักงานบังคับคดี มีหมายมาให้ฝ่ายบุคคล หักเงินเดือนส่งเพื่อชำระหนี้ แต่ปรากฎว่าให้ส่งทั้งจำนวน แล้วอย่างนี้ พ่อผมจะเอาไรกิน เลี้ยงลูก 5 คน แม่ผมอีก 1 คน  ผมพาพ่อไปคุยกับจพง.บังคับคดี เค้าบอกเดือนแรกจะหักหมด เดือนต่อไปให้เอาหลักฐานพวกสูจิบัตรลูกๆ มายื่นขอ ได้ไม่ได้อีกเรื่องนึง

    อย่างนี้ เรียนถามว่า เค้าหักได้หมดเลยเหรอครับ ไม่เหลือให้ประทังชีวิตเลย เวลายึดทรัพย์เค้ายังเหลือพวกของใช้ในการประกอบอาชีพเลย จำได้ที่ผมเรียนมา แต่ไอ่นี มันยึดหมดเลย ถ้าต่อรองแล้วเค้าสามารถเหลือเงินเดือนไว้ให้ใช้ได้มากสุดเท่าไหร่ครับอาจารย์

    คำตอบ

      เงินเดือนตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรนั้น เจ้าหนี้จะยึดไปไม่ได้ ทางปฏิบัติจึงต้องไปขอให้ศาลกำหนดว่าเท่าไรจึงจะเป็นการสมควรที่จะพอแก่การยังชีพ ที่เจ้าหน้าที่เขาแนะนำนั้นถูกต้องแล้ว ควรรีบไปดำเนินการเสียโดยเร็ว  ไหน ๆ ก็เป็นนักศึกษานิติศาสตร์ ก็ลองเปิดอ่านวิธีพิจารณาความแพ่งในหมวดที่ว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษา ตั้งแต่มาตรา ๒๗๑ เป็นต้นไป โดยเฉพา่ะมาตรา ๒๘๖ ดูไว้ก็ไม่น่าจะเสียหลาย บางทีเหตุที่เกิดขึ้นจริงอาจจะช่วยทำให้จดจำกฎหมายไปได้อีกนาน เป็นการทำวิกฤติให้เป็นโอกาสได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 มิถุนายน 2548