ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014469 การยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้เสาวนีย์10 กรกฎาคม 2548

    คำถาม
    การยึดทรัพย์ของเจ้าหนี้

    สวัสดีค่ะอาจารย์มีชัยที่เคารพ

     

    สามีของดิฉันไปค้ำประกันเงินกู้โดยมีที่ดินเป็นประกันให้กับญาติคนหนึ่งเมื่อหลายปีก่อน ญาติคนดังกล่าวไม่ชำระหนี้และหนีหายไป ตามหาตัวไม่พบ ต่อมาเจ้าหนี้ได้ฟ้องญาติ, สามีของดิฉันและผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่น ๆ อีก ศาลชั้นต้นตัดสินให้จำเลยชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยไม่ชำระให้นำทรัพย์ที่ค้ำประกันไว้ออกขายทอดตลาด หากไม่พอชำระหนี้ให้ยึดทรัพย์อื่นของสามีดิฉันออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ดิฉันคาดว่าทรัพย์ที่ค้ำประกันคงไม่พอชำระหนี้แน่นอน คำถามคือ

    1.                  อายุความของคดีนี้กี่ปี และเริ่มนับจากวันไหนคะ วันที่ศาลตัดสิน หรือในภายหลังจากการขายทอดตลาดทรัพย์ค้ำประกันแล้วไม่พอชำระหนี้

    2.                  ดิฉันไม่เสียดายทรัพย์ที่ค้ำประกัน แต่ไม่อยากให้เจ้าหนี้มายึดทรัพย์สินอื่นของสามีและดิฉันที่มีอยู่ และอาจจะมีในอนาคตไป ดิฉันและสามีไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แต่มีบุตรหนึ่งคน เคยอ่านพบในหนังสือว่าทรัพย์ของสามีและภรรยาที่อยู่กินกันโดยไม่จดทะเบียนแม้จะอยู่ในชื่อภรรยาคนเดียวก็ถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ซึ่งเจ้าหนี้อาจมายึดไปได้ ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ถ้าต่อไปข้างหน้า ดิฉันซื้อบ้านในนามของดิฉันเอง เจ้าหนี้จะมาตามยึดไปได้หรือไม่

    3.                  ดิฉันและสามีได้จดทะเบียนบริษัท เป็นนิติบุคคลไว้ หากโอนหุ้นทั้งหมดของสามีมาเป็นของดิฉัน แล้วซื้อทรัพย์สินในนามของบริษัท เจ้าหนี้จะสามารถมายึดไปได้หรือไม่

    4.                  หากต้องการอุทธรณ์คำตัดสินของศาลชั้นต้น ต้องทำภายในระยะเวลาเท่าใด

    5.                  หากซื้อทรัพย์สินเป็นชื่อลูก เจ้าหนี้จะสามารถมายึดไปได้หรือไม่คะ

    ขอบพระคุณมากค่ะ

    คำตอบ

    เรียน คุณเสาวนีย์

         1. หนี้ตามคำพิพากษามีอายุความ ๑๐ ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา

         2. ถ้าสภาพแห่งการอยู่ร่วมกันเป็นในลักษณะร่วมกันทำมาหากิน ก็อาจมีฐานะเป็นหุ้นส่วน ซึ่งในกรณีเช่นนั้นถ้าเป็นทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ก็จะมีฐานะเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วน เมื่อจำเป็นต้องเลิกหรือแบ่งแยกกัน ต่างฝ่ายต่างจึงต้องได้รับส่วนของตนตามส่วนแห่งการลงทุน เจ้าหนี้จึงมายึดเอาส่วนของคนที่เป็นลูกหนี้ได้  แต่ถ้าเป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างทำมาหากิน และไม่เกิดสภาพแห่งความเป็นหุ้นส่วน ทรัพย์ของใครก็เป็นของคนนั้น เจ้าหนี้มายึดเอาของอีกคนหนึ่งไม่ได้

        3. ถ้าเป็นทรัพย์สินของนิติบุคคล ไม่ว่าใครจะถือหุ้น เจ้าหนี้ก็มายึดทรัพย์ของนิติบุคคลไม่ได้ แต่ถ้าลูกหนี้มีหุ้นส่วนอยู่ในนิติบุคคลนั้นเท่าไร เจ้าหนี้ย่อมมายึดเอาหุ้นที่เป็นของลูกหนี้ได้

        4. ภายใน ๑๕ วัน

         5. อะไรที่เป็นของลูกหนี้ไม่ว่าจะมีมาก่อนหรือมีภายหลัง ตราบเท่าที่หนี้นั้นยังชำระไม่หมด เจ้าหนี้ย่อมตามมายึดไปขายเพื่อชำระหนี้ได้จนกว่าจะชำระหนี้หมด

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 กรกฎาคม 2548