ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014636 การขีดชื่อบริษัทออกจากทะบียนพัชรีภรณ์4 สิงหาคม 2548

    คำถาม
    การขีดชื่อบริษัทออกจากทะบียน

    เรียน  อาจารย์มีชัย  ฤชุพันธุ์  ที่เคารพ

         ดิฉันได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340-6345/2544  แล้วสรุปได้ว่า  เมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้ขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนเนื่องจากเป็นบริษัทร้าง  และได้ประกาศแจ้งความโฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว  ต้องถือว่าบริษัทเลิกกันตั้งแต่วันประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  ตามป.พ.พ.มาตรา 1246(5) และเมื่อบริษัทเลิกกันแล้วมีผลให้กรรมการเข้ามาเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทและมีอำนาจอยู่เช่นเดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1251 และ 1252 หลังจากนั้นผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนเลิกบริษัทตามมาตรา 1254 และดำเนินการชำระบัญชีต่อไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้  จนกระทั่งชำระบัญชีเสร็จแล้วก็ต้องจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270

         ดิฉันขอเรียนถามอาจารย์ว่า

         (1)  ตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้นเมื่อถือว่าบริษัทเลิกกันแล้วตั้งแต่วันประกาศราชกิจจานุเบกษา  เหตุใดผู้ชำระบัญชีจึงต้องจดทะเบียนเลิกบริษัทตามมาตรา 1254 อีก

         (2) มาตรา 1254 กำหนดให้ผู้ชำระบัญชียื่นคำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทภายใน 14 วันนับแต่วันเลิก  ดังนั้นหากกรรมการบริษัทเพิ่งทราบหลังจากการประกาศราชกิจจานุเบกษาไปแล้วเกิน 14 วัน จึงมาจดทะเบียนเลิกบริษัทจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนฯ พ.ศ. 2499 มาตรา 33 หรือไม่

         ขอขอบพระคุณอย่างสูง

                                                                พัชรีภรณ์   

    คำตอบ

    เรีน คุณพัชรีภรณ์

          1. การเลิกเพราะนายทะเบียนขีดฆ่าชื่อออก เป็นการเลิกโดยผลของกฎหมาย และเมื่อมีผลของกฎหมายกำหนดให้เลิกแล้ว กลไกของกระบวนการในการเลิกกันจึงย่อมเริ่มต้น คือผู้ีมีหน้าที่ต้องไปดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการจดทะเบียนเลิกเท่านั้นหากแต่ต้องแจ้งรายชื่อผู้เป็นผู้ชำระบัญชีให้คนทั่วไปได้ทราบด้วย 

        2. ปกติเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ถือว่าทุกคนต้องทราบ  แต่โดยสภาพความจริงอาจจะไม่รู้ได้ ดังนั้นถ้าพิสูจน์กับเจ้าหน้าที่ได้ว่าไม่ทราบจริง ๆ ก็อาจถูกลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 สิงหาคม 2548