ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015198 อำนาจของพ.ร.บนักศึกษาปริญญาโท20 ตุลาคม 2548

    คำถาม
    อำนาจของพ.ร.บ

    ความหมายของพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา มีคำจำกัดความว่าอย่างไรครับ.........หากมีการประกาศใช้แล้วจะมีผลอย่างไร................มีขอบข่ายอย่างไร หากไม่มีการปฎิบัติตามที่ประกาศไว้ ใครจะเป็นผู้ดูแลพ.ร.บ.ที่ประกาศออกมาครับ แล้วหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ มีการกำหนดอายุหรือไม่ครับ เช่น พ.ร.บ.เขตเพลิงไหม้ หรือ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร

    อย่างที่ผมเข้าใจ เช่น พระราชบัญญัติ เขตป่าสงวน สมมุติว่าผมเอาของป่าออกมาขาย ตำรวจสามารถจับได้เลยใช่ไหมครับ โดยผมไม่ต้องถามหาว่าเป็นพ.ร.บ.ฉบับใด

    คำตอบ

         พระราชบัญญัติคือรูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำและยินยอมของฝ่ายนิติบัญญัติ

         พระราชกำหนด คือ รูปแบบของกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร ซึ่งเมื่อตราออกใช้แล้วต้องนำเสนอต่อฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้ความเห็นชอบ ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติไม่ให้ความเห็นชอบ พระราชกำหนดนั้นก็ตกไป แต่ไม่มีผลกระทบต่อกิจการที่ได้ทำหรือเป็นไปแล้ว (ยกเว้นบางกรณี) ถ้าฝ่ายนิติบัญญัติให้ความเห็นชอบ ก็มีผลใช้บังคับได้ต่อไปดังเช่นพระราชบัญญัติ

       พระราชกฤษฎีกา คือรูปแบบของกฎหมายอันเป็นอนุบัญญัติที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของฝ่ายบริหาร ซึ่งมีเงื่อนไขว่าพระราชกฤษฎีกาต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด

       การจะจับใครต้องรู้ว่าเขาทำผิดกฎหมายอะไร และอย่างไร ถ้าไม่เคยอ่านหรือเห็นกฎหมายมาก่อนจะเที่ยวได้ไปจับเขาสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้

       อะไรเรียนถึงปริญญาโทแล้ว ไม่ได้เรียนความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไปมาตอนเรียนปริญญาตรีหรอกหรือ  ไหน ๆ ก็กำลังเรียนปริญญาโทแล้ว ควรจะรู้ให้ลึกซึ้งมากกว่าที่ตอบมาข้างต้น จึงควรไปอ่านรัฐธรรมนูญ มาตรา ๙๒ - ๙๔  มาตรา ๑๖๙ - ๑๙๒ มาตรา ๒๑๘ - ๒๒๐ และมาตรา ๒๓๑ - ๒๓๒   แต่ถ้ามีเวลาและเพื่อประโยชน์แห่งความรู้ที่แท้จริง ควรอ่านรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแหละดี เวลาที่ใครเขาชวนเดินขบวนเรียกร้องอะไรจะได้ตัดสินใจได้ว่าควรไปเดินกับเขาหรือไม่

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 ตุลาคม 2548