ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015529 ค้ำประกันเงินกู้ สมาชิกสหกรณ์โสธร1 ธันวาคม 2548

    คำถาม
    ค้ำประกันเงินกู้ สมาชิกสหกรณ์

    ขอเรียนถามอาจารย์

    หากเราค้ำประกันเงินกู้สหกรณ์ ให้กับสมาชิกท่านอื่น เมื่อเราต้องการลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ ในขณะที่เราไม่มีหนี้สินกับสหกรณ์ แต่สมาชิกที่เราค้ำมีหนี้สินอยู่

    1. เราสามารถ ทำการลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ได้หรือไม่

    2. ถือว่าเราได้หมดสิทธิ์ จากการค้ำประกันสมาชิกท่านอื่นด้วยหรือไม่

    3. หากเรา ยื่นแบบฟอร์มลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ แล้วเขียนจดหมายแนบว่า เนื่องมาจากการลาออกจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ จึงขอยกเลิกการเป็นผู้ค้ำประกันสมาชิกท่านอื่น และได้แจ้งให้สมาชิกท่านดังกล่าวทราบว่าเราได้ทำการลาออก ให้ดำเนินการหาผู้ค้ำประกันใหม่ โดยระบุวันมีผลบังคับตั้งแต่วันที่...

                3.1 สหกรณ์จะสามารถบังคับให้เรารับผิดได้หรือไม่ 

                3.2 สหกรณ์สามารถบังคับให้เราเป็นสมาชิกอยู่คงเดิมได้หรือหากเราไม่ประสงค์จะเป็นสมาชิกดังกล่าว

                3.3 สหกรณ์มีสิทธิ ไม่อนุมัติการลาออกของเราได้หรือไม่?

                3.4 หากสมาชิกผู้ที่เราค้ำประกันไม่ยอมหา ผู้ค้ำประกันใหม่ เราสามารถปฏิเสธการค้ำได้หรือไม่ ในเมื่อเราแจ้งล่วงหน้า ให้ดำเนินการหาผู้ค้ำใหม่แล้วดังกล่าว

    หวังว่าคำตอบของอาจารย์จะเป็นประโยชน์ต่ออีกหลายท่านที่ประสพปัณหา เช่นเดียวกัน

    ขอแสดงเคารพ และนับถือ

    โสธร

     

    คำตอบ

    เรียน คุณโสธร

         1.  ลาออกได้

          2. การค้ำประกันคนนั้น เป็นสิทธิ ก็ต่อเมื่อยังไม่ได้ค้ำประกัน เรียกว่าอยากเข้าค้ำประกันใครก็ทำได้ เพราะเป็นสิทธิ (ถ้าเจ้าหนี้เขาเชื่อใจ) แต่เมื่อได้เข้าค้ำประกันใครแล้ว ความผูกพันที่มีอยู่จะไม่ใช่ "สิทธิ" อีกต่อไป หากแต่กลายเป็นหน้าที่ และหน้าที่นี้จะผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะชำระครบถ้วน หรือผู้ค้ำประกันตายไปโดยไม่มีทรัพย์สินเหลืออยู่

         3. จะเขียนอย่างไรก็ไม่มีผลในทางที่จะทำให้หลุดพ้นจากหน้าที่ในการชำระหนี้ ถ้าเมื่อไรลูกหนี้เขาไม่ชำระหนี้ผู้ค้ำประกันก็ต้องเข้าชำระ  มีทางเดียวที่จะหลุดพ้นก็คือ เจ้าหนี้ คือสหกรณ์เขายินยอมให้ถอนตัวออกจากการค้ำประกัน แต่ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ว่าเจ้าหนี้รายใดยอมปลดให้ผู้ค้ำประกันพ้นจากความรับผิด เว้นแต่จะมีผู้ค้ำประกันรายใหม่มาค้ำประกันจนเป็นที่พอใจของเจ้าหนี้

        3.1  ได้

        3.2 บังคับไม่ได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นสมาชิกอยู่หรือไม่ เขาก็ตามไปทวงหนี้เอาจนได้เสมอ

        3.3 ไม่มีสิทธิ

        3.4 ปฏิเสธไม่ได้ เพราะการค้ำประกันก็คือการเอาโซ่เหล็กมาผูกใส่กุญแจไว้ โซ่นั้นจะอยู่เรื่อยไปจนกว่าหนี้นั้นจะหมดไป หรือเจ้าหนี้เขายอมไขกุญแจโซ่นั้นให้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 ธันวาคม 2548