ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    019073 การรับสนองพระบรมราชโองการpolicemedia@hotmail.com18 ตุลาคม 2549

    คำถาม
    การรับสนองพระบรมราชโองการ

    เรียน อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

         ผมอยากเรียนถามความเห็นของอาจารย์ดังนี้ครับ

              1.พระราชบัญญัติ คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติคือรัฐสภา ใช่หรือไม่ครับ

              2.ผู้ที่สมควรเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในพระราชบัญญัติ  ควรเป็นประธานรัฐสภาใช่หรือไม่ครับ  ทำไมจึงให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในพระราชบัญญัติ

              3.พระราชกฤษฎีกา คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารคือรัฐบาล ใช่ไหมครับ  และผู้ที่ต้องรับสนองพระบรมราชโองการคือนายกรัฐมนตรีใช่ไหมครับ 

              4.ถ้า พ.ร.บ. หรือ พ.ร.ฎ. มีความผิดพลาด  "ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ"ต้องเป็นผู้รับผิดชอบใช่ไหมครับ

                                     ขอบพระคุณครับ

                           policemedia@hotmail.com  

    คำตอบ

    เรียน Policemedia

        1. ใช่

        2. ไม่ใช่  เพราะกฎหมายนั้นจะออกได้ก็ต่อเมื่อด้วยความรู้เห็นเป็นใจหรือการเสนอของฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารจึงต้องเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อแสดงให้เห็นว่าถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้น ฝ่ายบริหารต้องรับผิดชอบ

        3. ใช่

        4. ใช่


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 ตุลาคม 2549