ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    023624 การชำระค่าหุ้นด้วยสินทรัพย์และแรงงานพงศ์ทิพย์18 กันยายน 2550

    คำถาม
    การชำระค่าหุ้นด้วยสินทรัพย์และแรงงาน

    ผมมีข้อสงสัยว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1119 กำหนดให้การชำระค่าหุ้นต้องใช้เป็นเงินจนเต็มค่า เว้นแต่หุ้นซึ่งออกตามบทบัญญัติมาตรา 1108 อนุมาตร (5) ซึ่งบอกว่าสามารถชำระค่าหุ้นด้วยสินทรัพย์หรือแรงงานก็ได้  แต่ในทางปฏิบัติจะทำอย่าไร เช่น

    ผมเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก. จำนวน 10,000 หุ้น มุลค่าที่ตราไว้ @ 100 บาท ถ้าจะชำระเป็นเงินสดต้องใช้เงิน 1,000,000 บาท แต่ผมไม่มีเงินพอผมจึงเสนอจะชำระค่าหุ้นโดย

    1) ชำระเป็นเงินสด 500,000 บาท

    2) ชำระเป็นรถยนต์มูลค่า 300,000 บาท

    3) ชำระเป็นแรงงานที่จะทำงานให้กับบริษัทคิดเป็นมูลค่า 200,000 บาท

    ถามว่าการกระทำแบบนี้เป็นที่ยอมรับตามมาตรา 1108 อนุมาตรา (5) หรือไม่  ถ้าไม่ความหมายตามมาตราดังกล่าวเป็นอย่างไร?  และในบอจ. 5 ของบริษัทจะแสดงอย่างไร? จะลงว่าชำระเต็มมูลค่าหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผมชำระเงินสดแค่บางส่วนเท่านั้น

     

     

    คำตอบ

    การที่บริษัทใดจะยอมให้มีการชำระค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากเงินสด ได้นั้น ต้องเป็นเรื่องที่ที่ประชุมตั้งบริษัทกำหนดไว้โดยละเอียด หรือมีมติพิเศษกำหนดขึ้นในภายหลัง  ซึ่งในมติจะต้องกำหนดด้วยว่า "เพียงใดซึ่งจะถือเอาเป็นว่าได้ใช้เงินแล้ว" โดยต้องระบุรายละเอียดไว้ให้ชัดเจน  กรณีที่ยกตัวอย่างมา ถ้าระบุไว้ในมติของที่ประชุมตั้งบริษัท ก็ย่อมทำได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 กันยายน 2550