ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048015 ข้อกฎหมายการออกหมายจับpolicemajor@hotmail.com2 ตุลาคม 2555

    คำถาม
    ข้อกฎหมายการออกหมายจับ

    วันที่  2  ตุลาคม  2555

    เรียน  อาจารย์มีชัย ฯ ที่เคารพ

          ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์มีชัยฯเป็นอย่างยิ่งที่ได้ให้ความรู้และความเห็นด้านกฎหมายเพื่อประเทศไทยคนไทยสังคมไทยจักได้สงบร่มเย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรืองพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

          ประเทศไทยคนไทยสังคมไทยจักได้มีความสงบร่มเย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรืองพัฒนาก้าวหน้า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณภาพของคนไทยทุกคน  แต่เพราะไม่สามารถทำให้คนไทยทุกคนมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันได้  บทบัญญัติแห่งกฎหมายรวมถึงเนื้อหาแห่งกฎหมายและผู้ที่มีอำนาจตีความบังคับใช้เพื่อให้กฎหมายคงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์จึงมีความสำคัญเช่นกัน

          ผมขออ้างถึง

          หนึ่ง.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๖๖ เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้() เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ  () เมื่อมีหลักฐานตามสมควว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น      ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี

          สอง.รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 237  หมายจับหรือหมายขังบุคคลจะออกได้ต่อเมื่อ  () มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ  () มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นด้วย

          สาม.รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้       มาตรา ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  

          ผมขออนุญาตเรียนถามอาจารย์  ดังนี้

          1.บทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 (ที่เพิ่มเติมมากขึ้นกว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 237)  ในวรรค 2 ที่ว่า..."...ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควร ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี" เป็นบทบัญญัติที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่

          2.บุคคลผู้เป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติในสถานที่ราชการหากไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยแจ้งเหตุผล  ผู้มีอำนาจหน้าที่ออกหมายจับสามารถออกหมายจับได้หรือไม่(หากผู้มีอำนาจหน้าที่ออกหมายจับอ้างว่า"ไม่มีข้อแก้ตัวอันควร"เพื่ออ้างเป็นเหตุว่า"ให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี"ตามประมวลกฎหมายฯ ทั้งๆที่ในรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติไว้)

     

                                 ด้วยความเคารพ

                             policemajor@hotmail.com

     

     

    คำตอบ

    1. ปัจจุบันรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ เลิกไปแล้ว  ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ รัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ ซึ่งตามมาตรา ๓๒ บัญญัติแต่เพียงว่า "การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ" บทบัญญัติของวิ.อาญา ที่อ้างมา ไม่มีอะไรขัดต่อรัฐธรรมนูญ

    2. รัฐธรรมนูญบัญญัติแต่เพียงให้เป็นไปตามกฎหมาย เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้ออกหมายจับได้ ก็ย่อมจับได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 ตุลาคม 2555