ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050467 พรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สุรา จำเลยสังคม10 กุมภาพันธ์ 2558

    คำถาม
    พรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

    เรียนถาม อาจารย์มีชัย ที่เคารพ

    ผมมีข้อสงสัยหลายประการเกี่ยวกับขั้นตอน กระบวนการ และ การบังคับใช้กฎหมายภายใต้ พรบ. ควบคุมฯ ฉบัยนี้ครับ

    1. .ในกระบวนการออกกฎหมายอนุบัญญัติ ภายใต้ พรบ. ควบคุมฯ ฉบับนี้ ได้กำหนดให้มีลำดับขั้นในการพิจารณา ได้แก่ คณะกรรมการควบคุมฯ และ คณะกกรมการนโยบายฯ อันมีกรรมการโดยตำแหน่ง ตามที่ได้ระบุไว้ใน พรบ.ฯ ที่ผ่านมามีการออก อนุบัญญัติหลายฉบับที่มีเนื้อหา ไม่เป็นธรรม สร้างความเดือดร้อนเกินสมควรแก่ผู้ประกอบการ จึงสงสัยว่า ในกระบวนการออกกฎหมายที่ผ่านมามีองค์ประชุมครบหรือไม่ และกรรมการโดยตำแหน่งนั้น สามารถมอบหมายตัวแทนมาประชุมเพื่อนับเป็นองค์ประชุมได้หรือไม่

    2. ม.32 เรื่องการโฆษณา ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งมีปัญหาอย่างมากในการตีความ เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ส่วนกลาง ได้ให้แนวทางในการปฏิบัติงานไว้ว่า การโฆษณาทุกรูปแบบถือให้เข้าข่ายตามวรรคนี้ แต่หากพิจารณาเทียบเคียงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น  ประกาศ อย. ประกาศกรมประชาสัมพันธ์ พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับหลักเกณ์การโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งให้นิยามของคำว่า การโฆษณาอันเป็นเชิญชวนให้บริโภค หรือการอวดอ้างสรรพคุณ ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยทางตรงทางอ้อม ซึ่งถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ปี 2546 ก่อนมี พรบ. ควบคุมฯ แต่กลับตีความ บังคับใช้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ที่สำคัญ มีการเข้าตรวจจับ แจ้งข้อกล่าวหาและเปรียบเทียบปรับ มากมาย เป็นพันคดีทั่วประเทศ ซึ่งการเปรียบเทียบปรับนั้น เจ้าพนักงานตาม พรบ. ควบคุมฯ สามารถทำได้ทันที และ มีเงินสินบน รางวัลนำจับอีกด้วย ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาเกือบทั้งหมดยอมรับข้อกล่าวหาและให้เปรียบเทียบปรับ เนื่องจากต้องทำมาหากิน และ ไม่อยากขึ้นโรงขึ้นศาล (โทษตาม พรบ. ควบคุม เรื่องโฆษณา ปรับ 500,000 จำคุก 1ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ) โดยมีประกาศเรื่องการเปรียบเทียบ ถ้ากระทำผิดครั้งแรกปรับ 50,000 บาท) แบบนี้ ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่

    3. หลังจากมีการประกาศ หลักเกณ์การโฆษณา (กำหนดขนาดคำเตือน 1 ใน 4 ของ พื้นที่ โฆษณา) เมื่อปี 52 ได้มีการเข้าตรวจจับ ปรับ มากมาย ตามที่ได้กล่าวถึงในข้อสอง เนื่องจาก ชิ้นงานโฆษณามีมากมายหลายล้านชิ้นทั่วประเทศ ที่ใช้กันมาเป็นเวลานาน ทั้ง ป้ายไฟ แก้ว ผ้าปู ธงราว ฯลฯ แต่เมื่อปลายปีที่ผ่านมามีการออกประกาศแก้ไข เปลี่ยนขนาดคำเตือนเป็น 1 ใน 3 ของ พท. โฆษณา ทำ เช่นนี้ มีความยุติธรรมหรือไม่ มีนัยในการป้องกัน ควบคุมการบริโภคหรือไม่ เป็นการออกกฎหมายเกินสมควร สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการเกินไปหรือไม่ เพราะต้องทำการเก็บของเดิม ผลิตของใหม่ทดแทนทั้งหมด และหากร้านใด ไม่ทราบ หรือ ยังไม่ทันได้เปลี่ยนก็จะโดนจับกุมและปรับ (ผู้จับได้สินบนรางวัล)

    4. การที่เจ้าหน้าที่ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกอนุบัญญัติ เป็นเจ้าพนักงานตาม พรบ.ฯ เป็นผู้อนุมัติเงินรางวัล เป็นผู้รับแจ้งเบาะแส และเป็นผู้รับเงินรางวัลด้วย เช่นนี้ ถือเป็นการขัดต่อหลักนิติธรรม ผิดหลักจรรยาบรรณ หรือขัดต่อกฎหมายอื่นใดหรือไม่ (ล่าสุด ยังเสนอแก้ พรบ.ฯ ให้ เจ้าหน้าที่ตาม พรบ. สามารถเข้าตรวจค้น สถานที่ต้องสงสัย ได้ทันที ทุกเวลา) ซึ่งยิ่งมีการออกอนุบัญญัติมากขึ้นเท่าใด ยิ่งเป็นการสร้างอำนาจและความมั่งคั่งให้เจ้าหนักงานมากขึ้นๆ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยไม่ใส่ใจแก้ไขที่ผู้บริโภค  และบังคับใช้กฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้มแข็ง เช่น ห้ามขายให้เด็ก เมาห้ามขับ และอื่นๆ ซึ่งสุดท้ายร้านถูกกฎหมายก็จะถูกทำให้กลายเป็นร้านที่ผิดกฎหมาย

    5. เข้าใจว่าการควบคุมการบริโภคสุราเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับสังคมไทย แต่การออกกฎหมายโดยขาดการพิจารณาให้ถี่ถ้วน ปิดกั้นการมีส่วนร่วมจากภาคธุรกิจโดยอ้างเพียงว่า ธุรกิจต้องปกป้องผลประโยชน์ตัวเอง ควรได้รับการแก้ไข หรือ ใส่ใจจากภาครัฐมากกว่านี้

    อาจารย์เห็นว่าภาคธุรกิจควรปฏิบัติตัวเช่นไร เพื่อแก้ปัญหา ทั้งปัญหาการบริโภคเกินควร และ ปัญหาทางกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้ เช่นนี้

    ด้วยความเคารพยิ่ง

    คำตอบ

    ๑. ถ้าสงสัยก็คงต้องไปขอเขาดูรายงานการประชุมว่ามีกรรมการมาครบองค์ประชุมหรือไม่   ส่วนคนที่มาแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้น ถ้าเขามอบหมายกันไว้ ก็ย่อมทำได้

    ๒. จะบอกกว่าเขาปฏิบัติหน้าที่โดยชอบหรือไม่ชอบ ก็ยาก เพราะต้องดูเป็นเรื่อง ๆ ไป เพราะบางทีพวกที่ทำเรื่องนี้ก็ทำเกินไป ดูเรื่องบุหรี่เป็นตัวอย่าง  ใส่รูปอะไรต่ออะไรที่หมอเองร้อย่ทั้งร้อยคงไม่กล้ายืนยันว่าการสูบบุหรี่แล้วต้องเป็นโรคอย่างนั้น หรือไม่สูบบุหรี่แล้วจะไม่เป็นโรคอย่างนั้น แต่ก็กล้าบังคับให้เขาพิมพ์กันจนน่าเกลียด  คนก็เลยไม่เชื่อ  ถ้าจะเลิกสูบก็เพราะเขาอยากเลิกสูบ แต่ไม่มีใครเลิกเพราะรูปที่ไปบังคับให้เขาพิมพ์กัน

    ๓.  ก็น่าจะเป็นอย่างที่คุณว่ามาน่ะแหละ  อะไรที่ทำเกินกว่าเหตุคนเขาก็นินทาเอาได้ เป็นของธรรมดา ที่สำคัญเงินที่เอามาใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยนั้น ก็เป็นเงินที่เก็บภาษีจากทั้งเหล้าและบุหรี่ทั้งนั้น เข้าทำนองเกลียดตัวกินไข่ 

    ๔. ลองอ่านอนุบัญญัติกับตัว พรบ.ให้ดี ๆ น่าเชื่อว่าจะมีหลายเรื่องที่ออกเกินอำนาจ ว่าง ๆ ถ้ารำคาญใจหนักเข้าก็ลองฟ้องศาลปกครองดูให้เป็นตัวอย่างบ้างก็ได้

    ๕. ก็ควรลองรวมตัวกันดูเผื่อจะร้องต่อศาลให้จำกัดให้ทำแต่พอเหมาะพอควรก็ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    10 กุมภาพันธ์ 2558