ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014501 เงินด่วน และบัตรเครดิตร้านค้านิติกร14 กรกฎาคม 2548

    คำถาม
    เงินด่วน และบัตรเครดิตร้านค้า

    เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ

             ผมขอรบกวนเรียนถามท่านอาจารย์ ๒ ข้อ ดังนี้

              ๑. ขณะนี้มีการให้บริการเงินกู้ด่วนมากมาย บางที่โฆษณาว่า  ๑๐ นาทีได้บ้าง ได้ทันทีบ้าง ตามเสาไฟฟ้าทั่วไปในกทม. ขณะเดียวกันเดี๋ยวนี้แพร่หลายไปต่างจังหวัดมากแทบทุกแห่ง พบเห็นตามหมู่บ้านโดยทั่วไป อยากเรียนถามว่ากิจกรรมอย่างนี้ผิดกฏหมายหรือไม่ เท่าที่ทราบเรียกดอกเบี้ยราคาแพง ทำให้คนมีกิเสศเป็นหนี้เป็นสินไปทั่ว รัฐจะมีมาตรการแก้ไขความยากจนอย่างไรคงไม่ได้ผล

               ๒. บัตรพลาสติคลักษณะคล้ายบัตรเครดิตที่ออกโดยผู้ที่ไม่ได้เป็นธนาคาร(NON BANK) เช่น  MACRO หรือ LOTUS เป็นต้น หรือห้างร้านอื่น ๆ  ขณะนี้ทราบว่าพรรคการเมืองจะออกบัตรในลักษณะที่ว่านี้ขึ้นมาอีก( ที่บางท่านตีความว่าเป็นการซื้อเสียงล่วงหน้านั่นแหละ) ผิดกฏหมายหรือไม่

               ๓. ในความเห็นของท่านอาจารย์ว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร และจะแก้ไขได้อย่างไรครับ(ถ้ามีผลเสีย)

    คำตอบ

    เรียน นิติกร

         1. กิจกรรมดังกล่าวไม่เป็นการผิดกฎหมาย เว้นแต่เรื่องดอกเบี้ย ถ้าหากไม่ใช่สถาบันการเงิน ก็ไม่อาจเรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้   การที่มีเอกชนเสนอให้กู้เงินกันมากมายจนทั่วทุกหัวระแหงก็เพราะมีปัจจัยสนับสนุน ๒ อย่าง  อย่างหนึ่งคือเหมาะกับอุปนิสัยของคนไทยโดยทั่วไปส่วนใหญ่ที่ไม่มีระเบียบวินัย  เมื่อไม่มีระเบียบวินัยการใช้จ่ายเงินจึงย่อมไม่มีระเบียบวินัยไปด้วย เมื่อมีช่องทางให้ได้เงินมาง่าย ๆ จึงใช้บริการกันอย่างทั่วถึงโดยไม่ต้องนึกถึงว่าเมื่อถึงเวลาจะต้องใช้หนี้เขาจะหามาจากไหนและจะเกิดอะไรขึ้น โดยถือคติที่ว่า "ไปตายเอาดาบหน้า"  อย่างที่สองเป็นการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นให้มีการกระตุ้นการบริโภคเพื่อกระตุ้นทางเศรษฐกิจ ถ้าสภาพเป็นไปอย่างนี้เรื่อย ๆ โดยไม่มีอะไรสะดุด ระบบนี้ก็จะอยู่ไปได้อีกนาน แต่ถ้าเมื่อไรเกิดอะไรสะดุดขึ้น ก็จะล้มกันทั้งเมือง เข้าทำนองแชร์แม่ชะม้อย

          2. ในขณะนี้ยังไม่ผิดกฎหมาย

          3. การเปิดช่องทางให้คนเป็นหนี้ได้ง่าย ๆ จะมีประโยชน์อะไรได้เล่า บางคนอาจอ้างว่าเพื่อเป็นการขจัดการเป็นหนี้นอกระบบ นั้นก็ไม่จริง เพราะเมื่อหมุนจนหมดทางแล้วในที่สุดก็ต้องไปกู้หนี้นอกระบบเพื่อนำมาผ่อนอยู่นั่นเอง  และเอาเข้าจริงดอกเบี้ยในระบบ ก็มิใช่จะถูกกว่านอกระบบ เพราะพอผิดนัด เบี้ยปรับจะสูงพอ ๆ กับดอกเบี้ยของหนี้นอกระบบ เพียงแต่ทำให้การเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา (ที่ทำกันนอกระบบ) ซึ่งผิดกฎหมาย หันมาเป็นหนี้ในระบบที่เรียกดอกเบี้ยสูงได้อย่างถูกกฎหมาย

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 กรกฎาคม 2548