ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014538 การต่อสัญญาเช่า(ต่อ)วิรัตน์19 กรกฎาคม 2548

    คำถาม
    การต่อสัญญาเช่า(ต่อ)

      จากคำถามที่ 014526 การต่อสัญญาเช่า...ขอเรียนถามอาจารย์มีชัยดังนี้

      ในการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์...เช่นบ้านเช่า..โดยลักษณะการเช่าเป็นเดือนต่อเดือนและการจ่ายค่าเช่าก็เป็นแบบจ่ายรายเดือน..ไม่ใช่จ่ายครั้งเดียว จะมีวิธีการอย่างไรหรือไม่เมื่อการเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าจะเป็นโดยสัญญาเช่า...หรือเป็นที่ผู้เช่าเลิกเช่า...หรือผู้ให้เช่าเลิกให้เช่า...โดยให้ระยะเวลาการหาที่อยู่ใหม่และการขนย้ายไม่น้อยกว่า3-6เดือนตามกฎหมาย...โดยผู้ให้เช่าหรือเจ้าของทรัพย์สามารถเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตนได้...ไม่ต้องเสียเวลามากในการฟ้องขับไล่ถึง 1-3 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่มากพอควร..พูดง่ายๆคือไม่อยากฟ้องขับไล่..แต่อยากเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์ของตนได้เลย...ตามที่กล่าวข้างต้น..จะมีวิธีปฏิบัติหรือความเป็นไปได้อย่างไร...ขอเรียนอาจารย์ชี้แนะด้วยครับ

                                                                          ขอบคุณครับ

    คำตอบ

          เคยมีคำพิพากษาฎีกาเมื่อปี ๒๕๑๙ ว่า ถ้าในสัญญาระบุไว้ชัดเจนว่าเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้ให้เช่าเข้าไปครอบครองที่เช่านั้นได้ การที่เมื่อครบกำหนดแล้วผู้ให้เช่าเข้าครอบครองและให้ผู้อยู่อาศัยออกไป สามารถกระทำได้โดยไม่เป็นความผิดอาญา

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 กรกฎาคม 2548