ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    051853 กองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้สุรพล9 เมษายน 2559

    คำถาม
    กองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้
    เรียน อ.มีชัยฯ ที่เคารพ

    ด้วยสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้ออกระเบียบสหกรณ์ ว่าด้วย เงินกองทุนช่วยเหลือสมาชิกผู้ค้ำประกันเงินกู้ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือนร้อนให้แก่สมาชิกผู้ค้ำประกันที่ต้องรับภาระแทนสมาชิกผู้กู้ ในกรณีที่สมาชิกผู้กู้ถึงแก่กรรม หรือถูกให้ออกจากงาน หรือให้ออกจากสมาชิกสหกรณ์ และยังชำระหนี้ไม่ครบตามสัญญาเงินกู้ 
             กองทุนฯ จะจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ค้ำประกันในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินกู้คง
    เหลือสุทธิหลังจากหักค่าหุ้นและเงินอื่นใดที่สมาชิกผู้กู้ได้รับจากสหกรณ์  โดยจ่ายจากเงินรับบริจาค (ดอกเบี้ยเงินฝาก ของเงินสมทบที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุน) รวมกับเงินจัดสรรกำไรสุทธิของสหกรณ์ 
             ในกรณีที่สมาชิกผู้กู้ ชำระหนี้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในสัญญา  กองทุนฯ จะคืนเงินที่สมาชิกผู้กู้จ่ายสมทบเข้ากองทุนฯ โดยไม่มีดอกเบี้ย ภายใน 30 วัน
              ที่มาของเงินกองทุน  
              1. เงินที่สมาชิกผู้กู้ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุน จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 1.0 ของวงเงินกู้ตามสัญญา 
               2. เงินรับบริจาค มาจากดอกเบี้ยเงินฝากของเงินสมทบของสมาชิกที่จ่ายเข้ากองทุน
               3. จัดสรรจากกำไรสุทธิของสหกรณ์

    ต่อมา นายทะเบียบสหกรณ์  ได้มีคำวินิยฉัย ระบุว่า เนื้อหาของระเบียบดังกล่าว มีลักษณะเป็นสัญญา ประกอบด้วยคู่สัญญา 2 ฝ่าย ซี่งฝ่ายหนึ่งตกลงจะชดใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ โดยตกลงจะส่งเงินจำนวนหนึ่งเป้นค่าตอบแทน  ไม่ว่าเงินนั้นจะเรียกว่าเบี้ยประกันหรือไม่ก็ตาม จึงเข้าข่ายลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายประกันชีวิตและกฎหมายประกันวินาศภัย ซึ่งสหกรณ์ไม่สามารถกระทำกิจการในลักษณะดังกล่าวได้ (หนังสือกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ กษ 1115/9425 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2522)
     คำถาม

    1. เงินสมทบ ที่สมาชิกผู้กู้จ่ายสมทบเข้ากองทุนดังกล่าว จะเป็นเบี้ยประกันตามคำวินิจฉัยของนายทะเบียนหรือไม่

             2. ดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ได้รับจากการบริจาค เป็นเบี้ยประกันตามคำวินิจฉัยของนายทะเบียนหรือไม่

               3. คำวินิฉัยของนายทะเบียบดังกล่าว สหกรณ์จะต้องถือปฏิบัติหรือไม่ และจะต้องยกเลิกกองทุนฯ ดังกล่าวหรือไม่  เพราะการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้คำประกัน  สหกรณ์ ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับสหกรณ์ ให้จัดสรรกำไรสุทธิ เป็นทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้ประกันเงินกู้  โดยให้ออกเป็นระเบียบดังกล่าวข้างต้น

                4. หากจะต้องยกเลิกระเบียบกองทุนฯ ดังกล่าว จะมีหนทางใดบ้างที่จะสามารถช่่วยเหลือสมาชิกผู้ค้ำประกันได้ เพราะสมาชิกผู้ค้ำประกัน จะต้องได้รับความเดือนร้อนเป็นจำนวนมาก

                 5. เมื่อกองทุนฯ จ่ายชำระหนี้แทนสมาชิกผู้กู้ให้กับสหกรณ์แล้ว  สหกรณ์ยังสามารถติดตามหนี้เอาจากสมาชิกผู้กู้ตามสัญญาเงินกู้ได้หรือไม่ 

                   จึงเรียนมาขอคำปรึษา และขอบคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้
     
     



    คำตอบ
    ทางที่ดี ควรอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน เพื่อให้ผู้มีอำนาจเหนือนายทะเบียนวินิจฉัยให้เป็นที่สุด
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 เมษายน 2559