ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048872 ถือเป็นพินัยกรรมหรือไม่สุมน4 มีนาคม 2556

    คำถาม
    ถือเป็นพินัยกรรมหรือไม่

    เรียน อาจารย์มีชัย ที่นับถือ

            ผมมีข้อกฎหมายที่ต้องการจะหารือ ดังนี้

    พ่อผมมีลูก ๑๐ คน มีที่ดิน ๒๖ ไร่ แต่ไม่ยอมแบ่งแยกโฉนดยกกรรมสิทธิ์ให้กับลูก ๆ และสั่งด้วยวาจาว่าไม่ให้ขายให้กับบุคคลภายนอก ลูกหลานคนใดไม่มีที่อยู่ให้ไปสร้างบ้านอาศัยในที่ดินแปลงนี้ได้ ต่อมาคุณพ่อได้เสียชีวิตลง ลูก ๆจึงปรึกษากกันว่าถ้าปล่อยไว้อย่างนี้ ลูกหลานจะทะเลาะเบาะแว้งแย่งชิงที่ดินกันได้ จึงได้รังวัดแบ่งแยกอย่างไม่เป็นทางการ คือไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้พี่น้องด้วยกัน โดยให้พี่น้องถือสิทธิ์ตามที่ตกลงกันไว้ในที่ประชุม ต่อมาพี่น้องคนที่ฐานะทางการเงินไม่ดี ก็ได้ไปหยิบยืมเงินจากพี่น้องคนที่มีฐานะทางการเงินและยกสิทธิ์การครอบครองให้ไป โดยไม่ได้จะดทะเบียนยกให้แต่อย่างใด เพราะที่ดินยังเป็นโฉนดรวม มีพี่คนหนึ่งเดือดร้อนทางการเงิน จึงไปหยิบยืมเงินของน้องมา และเขียนหนังสือยกสิทธิ์ในการครองสิทธิ์ของตนให้เจ้าของเงินไปโดยสามีและลูกไม่ได้รับทราบหรือให้ความยินยอมแต่อย่างใด

            จึงขอเรียนถามเป็นข้อ ๆ ดังนี้

            ๑.ที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของคุณพ่อโดยมีผู้จัดการมรดกดูแลอยู่ใช่หรือไม่

            ๒.การจับสลากกันระหว่างพี่น้องที่ตกลงกันระหว่างพี่น้องทั้งๆ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนดที่ดิน จึงไม่ใช่สิทธิ์ครอบครองที่ชอบด้วยกฎหมายใช่หรือไม่อย่างไร

            ๓.การที่พี่คนหนึ่งไปเอาเงินจากน้องมาแล้วทำหนังสือยกสิทธิ์ในที่ดินให้โดยเสน่หาตามตกลงแบ่งแยกกัน ถือเป็นพินัยกรรมได้หรือไม่(พี่คนนั้นได้เสียชีวิตไปแล้ว) และถ้าถือเป็นพินัยกรรมจะเป็นโมฆะหรือไม่เพราะตนเองยังไม่ได้รับการจดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด

            ๔.ถ้าหนังสือที่ยกให้โดยเสน่หานี้ถือเป็นพินัยกรรม ลูกของพี่คนนี้จะทำการคัดค้านได้หรือไม่

            ๕.ลูกของพี่คนที่ยกที่ดินไปแล้ว จะมาอ้างสิทธิ์สร้างบ้านในที่ดินโดยอ้างสิทธิ์ว่าที่ดินยังไม่ได้แบ่งแยกตามกฎหมาย คุณตาเคยบอกไว้ว่าลูกหลานคนใดจะมาสร้างบ้านอยู่อาศัยในที่ดินแปลงนี้ได้ จะได้หรือไม่เพราะอะไร

    คำตอบ

    1. เมื่อพ่อคุณตายแล้ว ที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ของพ่อคุณอีก แต่เป็นของทายาทแต่ละคน ที่ยังมีสิทธิร่วมกันในที่ดินทั้งแปลง  การตกลงกันว่าใครจะได้ส่วนไหนเท่าไร ก็ใช้ได้ ถ้าได้ทำเป็นหนังสือ  และเมื่อรู้ว่าใครมีสิทธิเท่าไรแล้ว จะขายให้อีกคนหนึ่งในหมู่พี่น้องกันก็ได้ แต่ควรต้องทำเป็นหนังสือกันไว้ให้ชัดเจนในลักษณะว่าขายสิทธิของตน

    2. ถ้าได้มีการตกลงกันว่าของใครอยู่ที่ไหนแล้ว หากทำเป็นหนังสือไว้ก็ใช้ได้ และการครอบครองที่เป็นไปตามนั้นก็ใช้ได้เหมือนกัน

    3. ไม่เป็นพินัยกรรม แต่เป็นขายสิทธิให้คนอื่นตั้งแต่ยังไม่ตาย การขายนั้นก็ใช้ได้ เป็นการขายสิทธิในมรดก ไม่ใช่ขายที่ดิน

    4. ไม่ควรทำเป็นการยกให้โดยเสน่หา เพราะจะสร้างปัญหาได้

    5.ถ้าพ่อเขาขายสิทธิไปแล้ว ลูกก็ย่อมหมดสิทธิ คำสั่งเสียของเจ้าของที่ดินเดิม ไม่มีผลอะไร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 มีนาคม 2556