ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049495 การสละสิทธิ์การเป็นผู้จัดการมรดกผู้ไม่รู้กฏหมาย14 สิงหาคม 2556

    คำถาม
    การสละสิทธิ์การเป็นผู้จัดการมรดก

    ที่ผืนหนึ่งซึงเป็นมรดกตกทอดจากตายาย ซึ่งยังติดภาระหนี้สินกับสภาบันการเงินแห่งหนึ่ง ตายายมีลูกทั้งหมด 7 คน ต่อมามีการฟ้องร้องขอรับเป็นผู้จัดการมารดก ซึ่งมีลูก 2 คนเป็นผู้จัดการมรดกโดยมีคำสั่งศาลออกมา ระบุจำนวนทายาทแต่ไม่ได้ระบุชื่อผู้ได้รับมรดกในคำสั่ง  ต่อมา 1 ในผู้เป็นผู้จัดการมรดก ได้เดือดร้อนเงินเงิน จึงขายสิทธิ์ในที่ดินพื้นนี้กับลุกคนนึง เพื่อแลกกับเงินจำนวนหนึ่ง และยินยอมทำใบมอบอำนาจ (ทด21) และหนังสือให้ความยินยอมสำหรับสละมรดกที่ดิน (RTG-LA-A5) โดยเซนต์ลายมือชื่อต่อหน้าผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่ง และพยาน จากเรื่องดังกล่าว มีคำถามดังนี้

    1. การทำใบมอบอำนาจ(ทด21) และหนังสือให้ความยินยอมสำหรับสละมรดกที่ดิน (RTG-LA-A5) โดยเซนต์ลายมือชื่อต่อหน้าผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่ง ในลัษณะนี้ มีผลเพียงพอในทางกฎหมายหรือไม่ หากผู้จัดการมรดกผู้ที่ขายสิทธิ์มากลับคำภายหลัง เรียกร้องภายหลัง

    2.หากหลักฐานดังกล่าวไม่เพียงพอ ต้องทำอย่างไร ถึงจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นภายหลัง

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ

    1. การทำหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมสละมรดก ไม่ได้ทำให้คนที่รับซื้อสิทธินั้นมีสิทธิในส่วนของคนขายโดยอัตโนมัติ  คงมีผลแต่เพียงว่า คนขายยอมสละมรดก ซึ่งเมื่อสละแล้ว มรดกส่วนนั้นก็อาจตกไปยังลูกของเขาก็ได้  หรือถ้าไม่ตกไป มรดกนั้นก็จะกลายเป็นไม่มีผูัรับ  ก็ต้องนำไปแบ่งกันกับทายาทคนอื่น ๆ

    2. ถ้าจะทำให้ตรงไปตรงมาก็คือ ทำหนังสือสัญญาขายสิทธิส่วนของตนให้แก่อีกคนหนึ่ง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    14 สิงหาคม 2556