ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049722 สิทธิครอบครองในที่ดินมรดกกนกทิพย์15 พฤศจิกายน 2556

    คำถาม
    สิทธิครอบครองในที่ดินมรดก

    เรียน  ท่านมีชัย  ฤชุพันธุ์

    ปัญหามีอยู่ว่า  คุณย่าเสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 มีโฉนดที่ดิน 1 แปลง จำนวน 4 ไร่ 2 งาน เป็นชื่อของคุณย่าค่ะ  คุณย่ามีลูกทั้งหมด 7 คน ตอนคุณย่าเสียใหม่ ๆ บรรดาพี่น้องทั้งหมดบอกว่าจะยกให้คุณพ่อของดิฉันซึ่งเป็นลูกคนที่ 5 ที่ดูแลคุณย่ามาตลอดโดยวาจา แต่ถึง พ.ศ. 2556 คุณอาซึ่งเป็นลูกคนที่ 6 ขอแบ่งที่ดินแปลงนี้โดยอ้างสิทธิครอบครอง ว่าคุณย่ายกที่ดินให้คุณอาแต่ทายาทที่เหลือทั้ง 6 คนไม่ยอมแบ่งที่ดินให้ แต่ความเป็นจริงแล้วคุณย่าไม่ได้ทำสัญญาอะไรไว้เลยและไม่ได้บอกกล่าวว่ายกที่ดินส่วนนี้ให้คุณอาเลย ตั้งแต่คุณย่าเสียชีวิต ที่ดินแปลงนี้มีคุณพ่อดิฉันและคุณลุงเป็นลูกคนที่ 4 เป็นผู้ครอบครอง คุณพ่อปลูกบ้านและทำประโยชน์บนที่ดินด้านซ้ายของโฉนด คุณลุงปลูกและทำประโยชน์บนที่ดินด้านขวาของโฉนด มาโดยตลอดระยะเวลา 23 ปีตั้งแต่คุณย่าเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2556 ศาลเรียกให้ไปไกล่เกลี่ยแล้ว แต่ไม่มีทายาทคนอื่นมาเลย ยกเว้นเพียงคุณพ่อและคุณลุงที่ครอบครองที่ดินมาเพียง 2 คนเท่านั้น และวันที่ 2 ธันวาคม 2556 ศาลนัดพิจารณาแล้ว

    ช่วงหลังนี้บรรดาทายาททั้ง 5 คน(ยกเว้นคุณพ่อกับคุณลุง) ของคุณย่าพยายามมาขอแบ่งที่ดินมรดกแปลงนี้ตลอด พยายามพูดคุยหลายครั้งว่าจะให้เงินจำนวน 100,000 บาท แต่ให้สละมรดก แต่ก็ไม่ยอมจะขอเงินคนละ 200,000 - 300,000 บาท

    คำถามถามว่า

    1. คุณอาซึ่งเป็นลูกคนที่ 6 ขอแบ่งโฉนดที่ดินโดยอ้างสิทธิครอบครอง ขอแบ่งในส่วนที่ดินติดถนนหน้าบ้านคุณพ่อของดิฉัน ทั้ง ๆ ที่ไม่มีหลักฐานว่าคุณย่ายกให้อย่างนี้  ดิฉันและคุณพ่อสามารถยกคำฟ้องได้หรือไม่  ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างค่ะ

    2. ที่ดินหน้าบ้านคุณพ่อดิฉันที่คุณอาเรียกร้องขอให้แบ่งนั้นมีจำนวน 2 งาน 50 ตารางวา มีราคาประเมินหรือมีจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาที่เรียกร้อง จำนวน 116,550 บาท หากพ่อดิฉันจะขอซื้อที่ดินแปลงนี้เอง  จะต้องทำอย่างไรค่ะหากต้องการจะตกลงกันในศาล เพราะทนายคุณอาที่มาในวันที่ไกล่เกลี่ย (วันที่ 13 พฤศจิกายน 2556) บอกให้คุณพ่อกับคุณแม่ฉันไปตกลงกับทนายคุณอาข้างนอกศาล แต่คุณพ่อกับคุณแม่ไม่ยอมไปตกลงค่ะ เพราะเคยคุยกับคุณอาหลายครั้งแล้ว ราคาเพิ่มขึ้นตลอดค่ะ

    3. ทายาททั้ง 5 คนที่ไม่ครอบครองที่ดินแปลงนี้  สามารถฟ้องแบ่งที่ดินมรดกนี้ได้หรือไม่ค่ะ หากอายุความเกิน 10 ปี ไปแล้วค่ะ

    4. คุณพ่อกับคุณแม่ดิฉันอ้างว่าในกรณีที่ดินมรดกเช่นนี้ คนที่ดูแลคุณย่ามีสิทธิมากกว่า  มีกฎหมายข้อไหนบอกหรือไม่ค่ะ  ดิฉันพยายามอธิบายหลายครั้งแล้วว่าทรัพย์มรดกต้องแบ่งเท่ากัน หากตกลงกันได้ข้างนอก ก็ให้ทายาทเซ็นต์ชื่อสละมรดกแล้วค่อยโอนที่ดินเป็นชื่อคุณพ่อ แต่ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ไม่เชื่อค่ะ

    5. หากคุณพ่อดิฉันจะฟ้องทายาททั้ง 6 แบ่งทรัพย์มรดกที่ดินแปลงนี้ โดยอ้างสิทธิครอบครองปัจจุบัน จะแบ่งได้เพียงส่วนของตนเอง คือ 2 งาน 50 ตารางวาหรือในส่วนที่ครอบครองทั้งหมดคือ 3 ไร่ 50 ตารางวาค่ะ (คุณลุงครอบครองเพียง 1 ไร่เท่านั้น)

    6. ในวันที่ 2 ธันวาคม 2556 ที่ศาลนัดพิจารณาคดี  คุณพ่อดิฉันจำเป็นต้องมีทนายไปเขียนคำให้การหรือไม่ค่ะ  คุณพ่อกับคุณแม่เป็นเพียงเกษตรกร ไม่สามารถเขียน-อ่านได้ ดิฉันบอกให้จ้างทนายแล้ว  แต่ไม่ยอม จะให้คำการเอง  ดิฉันไม่ทราบขั้นตอนในการขึ้นศาล หากให้การโดยวาจาอย่างเดียวได้หรือไม่ เพราะทายาทที่เหลือให้ทนายมาจัดการเองค่ะ

    ขอบพระคุณท่านมีชัย ที่ช่วยตอบคำถามค่ะ

    คำตอบ

    1. คุณยกฟ้องไม่ได้หรอก  ศาลเท่านั้นจึงจะมีอำนาจยกฟ้องได้ ข้อสำคัญคุณไม่ได้บอกมาว่าลูกคนที่ ๖ เขาได้ครอบครองที่ดินอยู่หรือเปล่า  จึงตอบไม่ได้ว่าศาลจะยกฟ้องหรือไม่  แต่ตามหลักนั้นเมื่อเจ้าของที่ดินตาย และไม่ได้ทำพินัยกรรมยกให้ใคร ทรัพย์ที่มีอยู่จะตกได้แก่ทายาท ซึ่งกรณีนี้ได้แก่ลูก ก็จะได้คนละเท่า ๆ กัน

    2. ถ้าเขายอมขายให้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่การตกลงในศาลจะดีกว่า ศาลจะได้ช่วยดูให้

    3. ก็อาจเป็นปัญหาอยู่  ปกติอายุความสูงสุดมี ๑๐ ปี แต่สิบปีจะนับจากไหนนั้น มีความซับซ้อนไม่น้อย

    4. ไม่มีกฎหมายอะไรอย่างนั้น

    5. ถ้าพ่อคุณครอบครองอยู่ จะไปฟ้องคนอื่นด้วยเรื่องอะไร  คนอื่นต่างหากที่เขาจะฟ้องขอแบ่ง ซึ่งคุณพ่อคุณก็อาจต่อสู้เรื่องอายุความ และเรื่องการครอบครองได้

    6. ไปสู้คดีแบบนีั้นไม่ได้หรอก จะเสียทั้งหมด  ต้องหาทนายความเพราะถ้าไม่ได้ทำคำให้การต่อสู้คดี  ฝ่ายนั้นเขาอ้างอะไรก็จะเท่ากับเรายอมรับหมด


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 พฤศจิกายน 2556