ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050367 การเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับPS18 พฤศจิกายน 2557

    คำถาม
    การเขียนพินัยกรรมทั้งฉบับ

    เรียน อาจารย์มีชัยและทีมงานที่เคารพ

    ดิฉันใคร่รบกวน

    1. ขอควาามรู้เกี่ยวกับเรื่องการเขียนพินัยกรรมด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ ต้องเขียนอย่างไรจึงจะสมบูรณ์ที่สุด     อยากได้ตัวอย่างค่ะ 

    และแบบฟอร์มพินัยกรรมที่ดาวน์โหลดตาม WEB ต่าง ๆ นั้นสามารถใช้ได้จริงครบถ้วนหรือไม่ค่ะ

    2. สามีภรรยา จดทะเบียนสมรถถูกต้องตาม ก.ม.   แต่ไม่ได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยาในทางพฤตินัย   และฝ่ายหนึ่งต้องการหย่า  แต่อีกฝ่ายไม่ยอมหย่า     การที่ไม่ได้อยู่กินกันฉันสามีภรรยานี้ สามารถเป็นข้ออ้างในการฟ้องหย่าได้หรือไม่ค่ะ 

     

     

     

     

     

    คำตอบ

    ๑. ไม่รู้ว่าที่ load มานั้น มีข้อความอย่างไร  แต่พินัยกรรมที่เขียนเองนั้น ก็ทำไม่ยาก  ระบุว่าตัวเองเป็นใคร อายุเท่าไร อยู่ที่ไหน ยังมีสติสัมปชัญญะยังดีอยู่ ขอทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของข้าพเจ้า  ดังต่อไปนี้   แล้วก็ระบุว่าจะยกอะไรให้ใคร เท่าไรอย่างไร  เวลาระบุทรัพย์สินที่จะยกให้ก็ให้ระบุให้ชัด เช่นที่ดิน ก็ต้องหบอกว่าโฉนดเลขที่เท่าไร ตั้งอยู่ที่ไหน เนื้อที่เท่าไร จะยกให้ทั้งหมดหรือบางส่วนอย่างไรก็ระบุให้ชัด

    ๒. ก็ขึ้นอยู่กับว่าเหตุใดจึงไม่ได้อยู่ด้วยกัน เป็นความสมัครใจที่จะแยกกันอยู่เพราะไม่อาจอยู่กันอย่างปกติสุขได้ ถ้าถึง ๓ ปี ก็หย่าได้ แต่ถ้าไม่ได้อยู่ด้วยกันเพราะอีกคนต้องไปทำงานที่อื่น อย่างนั้นก็หย่าไม่ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 พฤศจิกายน 2557