ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052450 ทรัพย์มรดกถูกจำนองkitsadar27 เมษายน 2560

    คำถาม
    ทรัพย์มรดกถูกจำนอง
    กราบสวัสดีอาจารย์ มีชัย ฤชุพันธุ์  ที่เคารพ ผมมีข้อสงสัยทางกฏหมายที่อยากให้อาจารย์มีชัยช่วยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง

    บิดาและมารดาจดทะเบียนสมรสกันแต่แยกกันอยู่กว่า25 ปีแล้ว มารดาส่งเสียเลี้ยงดูบุตรเพียงผู้เดียว  ต่อมาบิดาได้นำที่ดินไปจดจำนอง 1 แปลง จำนวน 6 แสนบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อเดือนเป็นเงิน 12,000 บาท โดยมารดาไม่ได้รู้เห็นถึงตัวเงินเลย

    เดือนตุลาคม 58 บิดาเสียชีวิต 

    กองมรดกของบิดามีโฉนด7 ใบ  เป็นที่ดิน 6 แปลง บ้านเช่า 1 หลังทุกอย่างบิดาได้มาหลังสมรสทั้งสิ้น โดยรายได้ก็เพียงจากบ้านเช่าเดือนละ 10,000 บาทเท่านั้น ไม่พอจ่ายดอกเบี้ยจำนองซึ่งอยู่ที่เดือนละ 12,000 บาท และมีหนี้สินอื่นๆอยู่อีกเป็นจำนวนมาก

    ข้อสงสัยของผมมีดังนี้

    1.เงินค่าเช่าหลังบิดาตายทั้งหมดเป็นมรดกหรือไม่  หากเป็นมรดกเจ้าหนี้ย่อมฟ้องเอาไปชำระหนี้ได้ แต่หากเป็นกรรมสิทธิร่วมดอกผลย่อมตกแก่เจ้าของตามสัดส่วนและต้องแบ่งสินสมรสออกมาก่อนใช่หรือไม่

    2.เจ้าหนี้จำนองมีสิทธิยึดทรัพย์อื่นๆนอกเหนือที่จำนองหรือไม่ บิดาตายตุลาคมปี 58 ล่วงมาถึงตอนนี้ เมษาปี 60  เวลาเลยมาปีกว่า เจ้าหนี้ก็ยังไม่ได้ทำการฟ้อง ผมเข้าใจว่าหนี้ประธานขาดอายุความแล้ว เหลือแต่ส่วนของจำนอง เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิตามไปยึดอย่างอื่นอีกแบบเจ้าหนี้สามัญ ผมเข้าใจถูกหรือไม่

    3.ผมและทายาทอื่นๆสามารถฟ้องแบ่งมรดกได้หรือไม่ ที่ติดปัญหาอยู่ตอนนี้คือที่ดินจำนอง แต่ที่ดินแปลงนั้นแทบไม่มีมูลค่าเลยไถ่ถอนไปก็ไม่คุ้ม อีกทั้งทายาทบางคนงอแงอยากได้เกินส่วน แถมไม่ยอมให้แบ่งสินสมรสออกมาอีก ได้คุยกันหลายครั้งแล้วก็ยังจะเอาแต่ใจตัวในเมื่อคุยกันไม่รู้เรื่อง ไม่ยอมแบ่งตามกฏหมาย ก็ควรให้กฏหมายตัดสิน
    คำตอบ
    1. ถ้ามรดกยังไม่ได้แบ่งกัน รายได้อันเกิดจากทรัพย์มรดกก็ยังเป็นของกองมรดกอยู่  และที่จริงถึงแม้จะแบ่งไปแล้ว เจ้าหนี้เขาก็ตามมาเอาจากทายาทที่ได้รับมรดกนั้นได้อยู่ดี
    2. ถ้าเจ้าหนี้เอาทรัพย์จำนองหลุดหรือนำทรัพย์จำนองไปขาย หนี้ที่ยังขาดอยู่เอาจากลูกหนี้ไม่ได้
    3. แบ่งได้เสมอ และควรรีบแบ่ง ๆ กันไป แต่ถ้ายังมีหนี้อยู่ก็ควรจัดการชำระหนี้เสียก่อน หากชำระแล้วมรดกหมด ทายาทแต่ละคนจะได้ไม่โดนฟ้อง แต่ก่อนแบ่งมรดกก็ต้องแบ่งสินสมรสออกมาให้แม่เสียก่อน เว้นแต่หนี้นั้นเป็นหนี้ร่วมกันหรือนำมาใช้จ่ายในครอบครัว เจ้าหนี้ก็คงตามมาเอาจากสินสมรสของแม่ได้  สำหรับลูกที่ไม่ยอมแบ่งสินสมรสให้แม่น่ะ คุณก็บอกเขาว่าการโกงคนอื่นน่ะก็บาปอยู่แล้ว ถ้าโกงแม่ตัวเอง ก็จะยิ่งบาปหนักยิ่งขึ้น

    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 เมษายน 2560