ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    013222 ขอเงินค่าชดเชยเมื่อเกษียณอายุพนักงานอาวุโส23 กุมภาพันธ์ 2548

    คำถาม
    ขอเงินค่าชดเชยเมื่อเกษียณอายุ

    เรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพอย่างสูง

    พนักงานทำงานเกี่ยวกับธุรกิจบริการบริษัทหนึ่ง โดยไม่มีสัญญาการเกษียณอายุว่าจะชดเชยให้เท่าไหร่ พนักงานบางคน ทำงานถึง 3 ชั่วคน จากปู่ ถึง พ่อ และหลาน ได้เงินเดือน 7,000-8,000 บาท การที่ได้เงินเดือนเช่นนี้ เพราะนายจ้างให้ไปตามอัตราการจ้างขั้นต่ำ พนักงานบางคน ทำงานตั้งแต่ 30 ปี บางคนทำตั้งแต่เริ่มก่อสร้างบริษัท ปัจจุบันนี้ก็ยังทำอยู่ แต่อายุมากแล้ว เกิน 60 ปีขึ้นไป เวลาไปขอนายจ้างเกษียณอายุ นายจ้างบอกว่า ให้ออกไปได้ แต่ไม่มีค่าชดเชย ความรู้ของพนักงานก็น้อย จะไปทำงานที่อื่นก็ลำบาก อายุก็มาก อยากจะเรียนถาม ขอความเมตตาจากอาจารย์ว่า มีหนทางใด ที่จะขอให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชย หลังจากอายุมากแล้วไม่สามารถทำงานได้

    ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้ความเมตตาธรรมกับพนักงาน

    พนักงานอาวุโส

    คำตอบ

    เรียน พนักงานอาวุโส

            ยังนึกไม่ออกว่าจะมีหนทางใด เพราะการจ่ายเงินชดเชยนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ใช่ความผิดของลูกจ้าง  แต่เมื่อเขาไม่เลิกจ้างจึงยังไม่ต้องจ่าย  อย่างไรก็ตามการที่นายจ้างจ้างคนที่อายุมากโดยไม่ยอมให้มีการปลดเกษียณ ก็ต้องถือว่านายจ้างยอมรับสภาพทางกายภาพของบุคคลในภาวะเช่นนั้น เช่น จะต้องทำงานล่าช้าลง ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง หยุดเพราะเจ็บป่วยเสียบ้าง เมื่อเกิดเหตุเช่นนั้นขึ้น นายจ้างจะถือเป็นเหตุลงโทษหรือเลิกจ้างโดยถือว่ามีความผิดไม่ได้   ทางอื่นนอกจากนี้ น่าจะลองไปปรึกษาเจ้าหน้าที่แรงงานดู บางทีเขาอจจะมีหนทางแนะนำก็ได้

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 กุมภาพันธ์ 2548