ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    031399 หนีสัญญาการทำงานที่ทำไว้กับบริษัท แล้วบริษัทฟ้องร้องเอก9 ตุลาคม 2551

    คำถาม
    หนีสัญญาการทำงานที่ทำไว้กับบริษัท แล้วบริษัทฟ้องร้อง

    สวัสดีครับ อาจารย์มีชัย

       ตอนนี้ผมมีปัญหาจึงอยากเรียนถามวิธีแก้ไขครับ

    1.) ผมหนีสัญญาที่ได้ทำไว้กับบริษัท คือทางบริษัทส่งผมไปเรียนรู้งานต่างประเทศ 6 เดือน แล้วติดสัญญา 2 ปี เมื่อกลับมาแล้วผมทำงานได้ 4 เดือนจึงย้ายที่ทำงานใหม่ แต่สัญญาระบุว่าถ้าไม่ทำงานที่บริษัทแล้วจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ช่วงที่ทำงานต่างประเทศผมไม่มีความสุข ค่าตอบแทนได้น้อย ในสัญญาตอนแรกระบุเบี้ยเลี้ยง 1000 US Singapore แต่จ่ายจริงแค่700 US

    2.) ตอนนี้บริษัทเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว ผมควรจะทำยังไงดี

    3.) วิธีเตรียมตัวก่อนขึ้นศาร เตรียมอะไรบ้างครับ

    4.) จะประนอมหนี้อย่างไรได้บ้าง

    5.) ตอนที่เซ็นสัญญาผมคิดว่าไปแบบไม่ค่อยถูกต้องเพราะไม่ได้ผ่านกรมจัดหาแรงงานครับ

                  ขอรบกวนท่านอาจารย์ช่วยตอบด้วยครับ

    คำตอบ

    2. เตรียมตัวไปสู้คดีเขาพร้อมทั้งเตรียมหาเงินไว้สำหรับใช้หนี้คืนเขา

    3. ถ้ารู้กฎหมายดีพอ ก็เตรียมข้อต่อสู้พร้อมทั้งพยานหลักฐานไว้ ถ้าไม่รู้กฎหมายก็เตรียมหาทนายความไว้

    4. ประนอมอย่างไรก็ได้ โดยการไปตกลงกับเจ้าหนี้ (บริษัท)

    5. นั่นไม่ใช่เป็นข้อต่อสู้ที่จะใช้อ้างได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 ตุลาคม 2551