ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049945 คุณสมบัติของผู้ใหญ่บ้านคนทะเบียน12 เมษายน 2557

    คำถาม
    คุณสมบัติของผู้ใหญ่บ้าน

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพอย่างสูง

           ผมมีคำถามเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ใหญ่บ้าน ที่ยังไม่สามารถหาคำตอบที่ชัดเจนเพื่ออธิบายกับเพื่อนร่วมงานรวมถึงกำนันผู้ใหญ่บ้าน กรณีผู้ใหญ่บ้านแจ้งย้ายชื่อตนเองออกจากทะเบียนบ้านในหมู่บ้านที่ตนเป็นผู้ใหญ่บ้าน ไปแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านในเขตท้องที่อื่น แต่เป็นการย้ายในระยะสั้นๆ ประมาณ ๑ สัปดาห์ แล้วก็แจ้งย้ายกลับทะเบียนบ้านเดิม การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือไม่ ซึ่งเรื่องลักษณะนี้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นค่อนข้างมาก และจากการติดตามการตอบคำถามของท่านอาจารย์ก็พบว่ามีคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ด้วย ซึ่งท่านอาจารย์ให้ความเห็นว่าการแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านทำให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔ (๒) แห่ง พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๒ (๓) ฯลฯ 

           เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ผมยังคงมีความเห็นแย้งบางประการซึ่งอยากขอให้ท่านอาจารย์ช่วยกรุณาให้ความกระจ่างแก่ผู้ที่ไม่ได้เรียนทางด้านนิติศาสตร์ด้วย กล่าวคือ ในมาตรา ๑๒ (๓) ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านโดยจะต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็นประจำและมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้นติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปีนับถึงวันเลือก ซึ่งการมีชื่อในทะเบียนบ้านจะมีความเกี่ยวโยงกับภูมิลำเนาของบุคคลตามมาตรา ๒๙ พรบ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ที่กำหนดว่าผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านใดให้สันนิษฐานว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาอยู่ที่นั้น ซึ่งในความเป็นจริงจะพบว่าคนจำนวนมากอาศัยอยู่ไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน แต่ประเด็นที่ควรพิจารณาเพิ่มเติมก็คือในมาตรา ๑๔ พรบ.ลักษณะปกครองท้องที่ ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ใน (๘) กล่าวถึงเหตุอันเกิดจากการไปเสียจากหมู่บ้านที่ตนปกครอง ก็ทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน แต่จะต้องเป็นกรณีที่ไปจากหมู่บ้านติดต่อกันเกินสามเดือน และหากการไปจากหมู่บ้านนั้นได้รับอนุญาตจากนายอำเภอด้วยแล้ว ระยะเวลาสามเดือนก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้พ้นจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านด้วย ทั้งนี้การที่ผู้ใหญ่บ้านไปเสียจากหมู่บ้านที่ตนปกครองน่าจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนภูมิลำเนาและมีความรุนแรงและเสียหายมากกว่าการแจ้งย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้นเป็นระยะเวลาสั้นๆ โดยที่ผู้ใหญ่บ้านคนนั้นยังปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่อง

           จึงใคร่ขอความกรุณาท่านอาจารย์ ให้ความกระจ่างและชี้แนะแนวทางในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วย เพื่อให้การสอบสวนข้อเท็จจริงเกิดความถูกต้องและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ขอบพระคุณอย่างยิ่ง 

    คำตอบ

    ตามมาตรา ๑๒ (๒) นั้น คนจะเป็นผู้ใหญ่บ้านจะต้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในหมู่บ้านนั้น และต้องอยู่จริงด้วย ทั้งสองอย่าง เมื่อไรที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ถึงจะอยู่จริง ก็ขาดคุณสมบัติได้  ส่วนกรณีตามมาตรา ๑๔ (๘) นั้น หมายถึงว่าแม้จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ไปจากหมู่บ้านเป็นเวลาถึงสามเดือน ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ก็ขาดได้เหมือนกัน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 เมษายน 2557