ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015062 ตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาเรวัต แสงสุริยงค์3 ตุลาคม 2548

    คำถาม
    ตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา

                                             สำเนาจากต้นฉบับ

     

    เรียน นายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา

     

                อ้างถึง หนังสือ ศธ 0509.6 (4)/9324 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547 เรื่อง หารือการแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยบูรพาดำรงตำแหน่งผู้บริหารของมหาวิทยาลัย โดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาพิจารณาว่า หัวหน้าภาควิชาต้องแต่งตั้งจากคณาจารย์ประจำที่เป็นข้าราชการของมหาวิทยาลัยเท่านั้น เพราะพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 มาตรา 29 กำหนดให้หัวหน้าภาควิชาต้องแต่งตั้งจากคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย และมาตรา 38 กำหนดให้การแต่งตั้งคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย

               

                แต่ปัจจุบันการบริหารงานของประเทศและมหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมายที่น่าจะมีผลกระทบกับคำพิจารณาดังกล่าว คือ ระดับประเทศมีการยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 แทน ระดับมหาวิทยาลัยมีการยกเลิกข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยสภาอาจารย์ พ.ศ. 2536 และใช้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยสภาอาจารย์ พ.ศ. 2548 แทน ทำให้มีข้อสงสัย ดังต่อไปนี้

     

    1.      ข้อบังคับมหาวิทยาลัยบูรพา ว่าด้วยสภาอาจารย์ พ.ศ. 2548 ข้อ 4 ให้ความหมาย “คณาจารย์” หมายความว่า ผู้สอนที่เป็นอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย และ “อาจารย์” หมายความว่า อาจารย์ประจำ ทั้งที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และพนักงานมหาวิทยาลัยไม่ว่าจะจ้างจากเงินงบประมาณหรือเงินรายได้ที่มีสัญญาจ้างตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป การปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยสภาอาจารย์แสดงถึงเจตนารมณ์ทางการบริหารที่ต้องการให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 มาตรา 22 ดังนั้นคำว่า “คณาจารย์” พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 มาตรา 29 และมาตราอื่นแห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 มีความหมายเดียวกันหรือไม่ หรือมีความหมายแตกต่างกัน หากมีความหมายเดียวกันแสดงว่าพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติครบตามมาตรา 29 สามารถเป็นหัวหน้าภาควิชาได้ใช่หรือไม่ แต่หากมีความหมายแตกต่างกัน ให้ใช้ความหมายใด หรือให้นิยามความหมายใช้แตกต่างกันได้ต่างกรรมต่างวาระ และหากใช้ความหมายแตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคและความเท่าเทียมกันตามเจตจำนงแห่งพระราชบัญญัตินี้และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันหรือไม่

     

    2.      พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 มาตรา 38 กำหนดให้คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการแต่งตั้งและถอดถอนคณาจารย์ประจำตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาใช้มาตรา 38 พิจารณาให้หัวหน้าภาควิชาต้องเป็นข้าราชการของมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ต่อมาเมื่อมีการยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507 และใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 แทน ดังนั้นพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 มาตรา 38 ต้องใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 แทนด้วยหรือไม่ หากต้องใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 แทนพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2507  ตำแหน่งผู้บริหารในมหาวิทยาลัยบูรพาต้องเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 18 หรือไม่

     

    3.      หากตำแหน่งผู้บริหารในมหาวิทยาลัยบูรพาต้องเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 มาตรา 18 พบว่า การกำหนดตำแหน่ง การบรรจุและการแต่งตั้งตำแหน่งประเภทผู้บริหารมีความขัดแย้งกัน เพราะการแต่งตั้งผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารเกือบทุกตำแหน่งในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 มิได้กำหนดว่าต้องเป็นข้าราชการ ยกเว้นตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา ทำให้มีข้อน่าสังเกตว่า เหตุใด พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 จึงกำหนดให้หัวหน้าภาควิชาต้องเป็นข้าราชการเพียงตำแหน่งเดียว

     

                จากข้อสงสัยดังกล่าว เมื่อพิจารณาจากทิศทางการบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยในปัจจุบันและอนาคตเป็นการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ดังนั้นสัดส่วนของอาจารย์ที่เป็นข้าราชการกับพนักงานจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในภาควิชาต่าง ๆ จะมีอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมากกว่าอาจารย์ที่เป็นข้าราชการ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือ หากยังไม่มีความชัดเจนในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 ปัญหาเรื่องความเสมอภาคและเท่าเทียมของอาจารย์ในภาควิชาและโอกาสในการได้มาซึ่งหัวหน้าภาควิชาที่มีความเหมาะสมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

               

                จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และตอบข้อสงสัยในความไม่ชัดเจนในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติ ด้วย

    คำตอบ

    เรียน คุณเรวัต

           เมื่อถามไปที่นายกสภามหาวิทยาลัยแล้ว  ก็ควรรอคำตอบจากนายกสภาฯก่อน


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 ตุลาคม 2548