ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    018520 ม.นอกระบบฟ้องผู้ผิดสัญญาทุน (ต่อเนื่องจากคำถามแรก)คมสัน11 กันยายน 2549

    คำถาม
    ม.นอกระบบฟ้องผู้ผิดสัญญาทุน (ต่อเนื่องจากคำถามแรก)

    =====ถามครั้งแรก===
    มหาวิทยาลัย: ม.นอกระบบกล่าวอ้างไม่เป็นจริง

    เมื่อ 13 ปีกว่าขึ้นไป ม.นอกระบบฯ หนึ่งต้องการรับอาจารย์ และพนักงานอื่น เข้าเป็นพนักงานของ ม. นอกระบบ  จึงแจ้งทั่วไปว่า "มีสวัสดิการที่ดีกว่าราชการ หรือใกล้เคียง" เพื่อดึงดูดคน โดยเฉพาะอาจารย์

    ช่วงนั้น ผมรู้สึกว่า เป็น ม.ในฝัน เพราะมีคำเชิญชวน ที่อยากไปเป็นพนักงานคนหนึ่ง  นอกเหนือจาก สวัสดิการที่กล่าวแล้วก็ยังมีอีกหลายอย่าง เช่น มีระบบประเมินอาจารย์ตลอดปี  ทุกปี ทำให้ทุกคนขยัน  มีการประหยัด โดยพยามใช้กระดาษสองด้าน เป็นต้น  

    เมื่อทราบว่ามีการให้ทุนศึกษาต่อ ผมจึงไปสอบ และได้ทุนมา  อีกทั้งได้รับคำกล่าวว่า จะบรรจุเป็นพนักงานให้ และให้ลาไปเรียน  โดยให้ได้รับเงินเดือนตามวุฒ บวกค่าประสบการณ์อีกสามปี  ให้มากกว่าผู้ที่จบวุฒิเท่ากัน  แต่ไม่มีประสบการณ์สอน

    เมื่อผมรับทุน และจบการศึกษากลับมา  ก็บอกผมว่า ได้เงินเดือนเท่าคนอื่น  เพราะเงินเดือนปรับสูงขึ้นให้แล้ว  (เนื่องจาก ฐานเงินเดือนราชการขึ้น)   และสวัสดิการนั้น ไม่เท่าเทียมของราชการ เช่น เบิกค่ารักษาพยาบาลให้พ่อและแม่ไม่ได้ (ซึ่งก็ตรงกับ ม.นอกระบบอื่น หรือ ม.ในระบบฯ ที่อาจารย์ใหม่ไม่เป็นราชการแล้ว)  แต่ในครั้งนั้น (ผ่านมาแล้ว 13 ปี) กล่าว และแจ้งให้ทราบทั่วไป (จำได้ว่า ได้มีประกาศลงหนังสือพิมพ์) สวัสดิการเท่าเทียม หรือดีกว่า   ด้วยเหตุทั้งหมด ทำให้ผมเลือกตัดสินใจรับทุนศึกษาต่อ (ทุนเป็นแบบ 3 เท่า มากกว่าแห่งใดในประเทศไทย แต่ผมเลือกรับฯ เพราะ เข้าใจว่า ม.นี้เป็น ม.ในฝัน) โดยทำสัญญากัน ผมต้องทำสัญญากับ ก.พ. (ซึ่งเป็นแบบ 2 เท่า เท่านั้น ไม่ว่ากับใคร ตามระเบียบของ กรมบัญชีกลาง หรืออะไรสักอย่าง) และกับม.นอกระบบนี้ (เป็นแบบ 3 เท่า ซึ่ง ม.นอกระบบไม่อ้างอิงราชการ หรือใคร แต่อ้างอิงตนเอง)

    ค่าประสบการณ์ที่บวกให้ผม และคำกล่าวเกี่ยวกับสวัสดิการ ไม่มีในสัญญา  ผมขอถามว่า "ถือว่าผมถูกหลอกลวง ให้เซ็นสัญญารับทุนศึกษาต่อ  และเกิดการผูกพัน" เพื่อเป็นเหตุฟ้องศาลได้หรือไม่?

    ขอบคุณครับ
     
     
    คำตอบ
     จะไปว่ามหาวิทยาลัยหลอกลวงคงไม่ได้ เพราะในขณะนั้นมหาวิทยาลัยก็ไม่คิดว่ามหาวิทยาลัยจะถูกรัฐบาลหลอกลวงเหมือนกัน  ในตอนแรกที่ผลักดันให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ รัฐก็บอกว่าเมื่อออกนอกระบบแล้วจะให้เงินเดือนมากกว่าราชการ 1.7 เท่า  ครั้นอยู่ต่อมารัฐบาลก็ขึ้นเงินเดือนข้าราชการให้ขึ้นมาเท่าและสูงกว่าพนักงานของมหาวิทยาลัย โดยไม่ปรับเงินเดือนให้พนักงาน แถมยังตัดอัตรากำลังที่เป็นข้าราชการของมหาวิทยาลัยลงไปเรื่อย ๆ แล้วปล่อยให้มหาวิทยาลัยหาเงินมาจ้างคนเอาเอง มหาวิทยาลัยเก่า ๆ ที่มีทรัพย์สินรองรังอยู่แล้วก็คงพอทำเนา แต่มหาวิทยาลัยใหม่ ๆ ต่างก็แย่ไปตาม ๆ กัน
    =====จบ==ถามครั้งแรก===


    ผมอ่านคำตอบแล้ว.  ขอบคุณครับมากจริงจริง.  ข้อมูลเพิ่มเติมคือ ผมลาออกจากการเป็นพนักงาน และ ม. ถือว่า ผมผิดสัญญา (ที่ยาวนานถึง 3X).  ม. คงฟ้องศาลไม่นานนี้.

    ถ้าผมไม่ฟ้องว่า "ถูกหลอกลวง" แต่ถูกทำให้หลงเข้าใจผิด หรือใช้คำอื่น เพื่อให้ศาล ลดประโยชน์ของ ม.นอกระบบ ต่อสัญญาที่ทำกับผม ได้หรือไม่ครับ  เช่น ลดจาก 3 เท่าเวลา ชดใช้ เป็น 2 เท่า?   หรือ ผมควรฟ้องแย้ง เมื่อ ม. ฟ้องผมดี?   (เรื่องนี้ มิใช่ผมคนเดียว  ยังมีอีกหลายคน.  และก่อนหน้าผม 1-2 ปี  สัญญาทำนองเดียวกันนี้ มีระยะเวลาชดใช้ทุนเพียง 2X) 


    พนักงานอื่นของม.นอกระบบนี้ ได้เงินสูงกว่ามากมาย เพราะ ม. เสนอเงินมาก หลายคนได้เป็นแสนกว่าบาท  เชื่อว่าบางคนเกือบสองแสนบาท/เดือน คือ มากกว่า 1.7 เท่า ที่ท่านกล่าวอย่างแน่นอน   จึงมีความคุ้มมาก หากใช้เงินที่ได้มากกว่า หากทำราชการมาทำประกันชีวิต, อุบัติเหตุ, ฯลฯ   แต่กรณีผมเป็น ได้เป็นพนักงานต่างช่องทาง คือ ผ่านช่องทางรับทุน จึงได้รับเงินเดือนต่างกันไป  คือได้มากกว่าราชการแบบไม่คุ้ม เมื่อเทียบกับเองเงินที่มากกว่ามาทำกรมธรรม์ประกันภัยให้บุพการี   คนอื่นที่ไม่ผ่านทุน  เงินสูงอยู่แล้ว ก็ได้เงินเดือนขึ้นเมื่อ ฐานเงินเดือนราชการปรับขึ้น. 

    ด้วยความเคารพ
    คมสัน พ.

    คำตอบ

      ก่อนจะไปฟ้องแย้งหรือสู้คดี ก็ควรย้อนกลับไปดูสัญญาที่ทำไว้ อ่านให้เละเอียดเสียก่อน   สำหรับคนอื่นที่เขาไม่ได้รับทุนนั้นมหาวิทยาลัยก็อาจจ่ายให้ตามความรู้ความสามารถโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับ  ในขณะที่นักเรียนทุนนั้น มหาวิทยาลัยก็ต้องนึกทุนที่ได้ลงไปแล้วประกอบด้วย  อันที่จริงเงินนั้นก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้เกิดความสำคัญเสียจนลืมนึกถึงบุญคุณของมหาวิทยาลัย

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 กันยายน 2549