ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    025547 พรบ จุฬาฯในกํากับบรมพงษ์2 มกราคม 2551

    คำถาม
    พรบ จุฬาฯในกํากับ

    ผมตระหนักดีว่าท่านมีชัยสนับสนุนพรบ จุฬาฯในกําหับฉบับนี้ แต่ผมอยากขอความกรุณาให้ความกระจ่างในประเด็นต่อไปนี้ครับ

    1) มาตรา 16 แห่งร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ มีเนื้อความบัญญัติตอนหนึ่งว่า “...และบุคคลใดจะยกเอาอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยมิได้” ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงกรณีที่มหาวิทยาลัยใช้สิทธิฟ้องร้องในเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ผู้ถูกฟ้อง เป็นต้นว่า ผู้เช่ามิอาจยกอายุความขึ้นต่อสู้กับมหาวิทยาลัย ทั้งที่เรื่องการยกอายุความขึ้นต่อสู้ในทางคดีความเป็นเรื่องปกติและเป็นสิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา โดยมีหลักประกันว่า บุคคลอาจเสนอข้อโต้แย้งตามความในมาตรา 40(2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื้อความบางส่วนของมาตรา 16 แห่งร่าง พ.ร.บ.จุฬาฯ จึงมีลักษณะที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่

    2) ร่าง พ.ร.บ.นี้อาจจะเอื้อให้มีการขาย จำหน่าย ก่อภาระติดพันและแลกเปลี่ยนทรัพย์สินของจุฬาฯ ได้โดยเสรี แม้ได้มีบทบัญญัติจำกัดว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของมหาวิทยาลัยที่ได้มาตามพ.ร.บ.โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ฯ จะกระทำมิได้ตามมาตรา 15 วรรคสองก็ตาม แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 7 และมาตรา 13 แห่งพ.ร.บ.ดังกล่าว แต่การลงทุนใดๆ ต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายอื่น เช่น พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น ด้วย ข้อจำกัดดังกล่าวทำให้การลงทุนของจุฬาฯ ไม่มีประสิทธิภาพและไม่อาจบังเกิดผลตามที่บัญญัติไว้ได้ ยังผลให้จุฬาฯ ไม่อาจคงสถานะสถาบันที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยเสมอภาคต่อไปในอนาคตและจะก่อผลเสียหายอื่นๆ ตามมาโดยมิอาจประมาณได้
           พ.ร.บ.จุฬาฯ ยังมีบทบัญญัติที่แอบแฝงเปิดโอกาสให้บุคคลหรือคณะบุคคลเป็นผู้อยู่เหนือกฎหมายทั้งปวงโดยไม่ต้องรับผิดจาก “การกระทำ” ของบุคคลหรือคณะบุคคลผู้บริหาร เพียงแต่อ้างว่าเป็นการบริหารวิชาการเท่านั้น เช่นนี้เท่ากับขัดต่อหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยและขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 คืออำนวยให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่เหนือกฎหมายได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.จุฬาฯ
           ข้อความ พ.ร.บ.จุฬาฯ มาตรา 16 มีข้อความว่า “ทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยที่ใช้เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับการศึกษา การวิจัยลากรบริการวิชาการโดยตรง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีทั้งปวง รวมทั้งการบังคับทางปกครองและบุคคลใดจะยกเอาอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับมหาวิทยาลัยในเรื่องทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยมิได้” นั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 13(1) (8) ประกอบกันแล้วเห็นได้ว่า เป็นการออกกฎหมายโดยใช้สถาบันการศึกษาคือจุฬาฯ มาเป็นเครื่องมือเพื่อคุ้มครองบุคคล นิติบุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพย์สิน การจัดการทรัพย์สิน หรือผู้ที่ได้ไปซึ่งการใช้สิทธิในทรัพย์สินของจุฬาฯ เช่น การเช่าที่ดินเพื่อประกอบธุรกิจในระยะยาว เป็นต้น โดยทรัพย์สินต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการได้ใช้สิทธิในทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เช่น อาคารที่สร้างขึ้นในที่ดินของมหาวิทยาลัย รวมทั้งบุคคลและนิติบุคคลที่ประกอบการดังกล่าว ไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ศาลปกครอง รวมทั้งอำนาจทางปกครองของฝ่ายบริหารของรัฐ เพียงเพราะได้อ้างไว้ส่วนใดส่วนหนึ่งว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การศึกษา การวิจัยหรือเพื่อการบริการทางวิชาการเท่านั้น เป็นไปได้หรือไม่ครับ

    คำตอบ

    อันกฎหมายนั้น ลำพังอ่านอย่างตั้งใจ ก็เข้าใจยากอยู่ไม่น้อย ถ้ายิ่งอ่านโดยมีอคติอยู่ในใจ บางทีก็อาจแปลอะไร ๆ จนผิดไปจากความเป็นจริง และสร้างรูปรอยให้น่ากลัวได้   ว่าง ๆ ลองไปถามคณาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ดูบ้างก็น่าจะดีนะ  เพราะไหน ๆ ก็สอนคนทั้งเมืองให้เขารู้กฎหมายแล้ว ก็ควรจะเอื้อให้ประชากรในมหาวิทยาลัยเดียวกันได้เข้าใจกฎหมายได้พอสมควร

    1. มาตรานี้ เป็นมาตราที่คุ้มครองทรัพย์สินของจุฬา ซึ่งแม้ว่าชาวจุฬาจะอ้างว่าเป็นของจุฬา แต่ก็เป็นของแผ่นดิน เพราะจุฬาเป็นหน่วยงานของรัฐ จึงต้องมีกฎหมายคุ้มครองเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดินทั่วไป ที่จะถูกกำหนดว่าใครจะยกอายุความเพื่อมาเอาทรัพย์สินของแผ่นดินไปไม่ได้  เพราะถ้าขืนปล่อยให้เป็นอย่างนั้น ทรัพย์สินของรัฐโดยเฉพาะที่ดิน คงกลายเป็นของคนมีเงินไปหมดแล้ว  เนื่องจากถ้าเป็นทรัพย์สินของคนธรรมดา หากมีใครมาครอบครองโดยสงบ โดยเปิดเผย โดยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อครบ ๑๐ ปี แล้ว บุคคลนั้นก็ได้กรรมสิทธิ์ไป ที่เรียกกันว่าการครอบครองปรปักษ์   แต่ถ้าเมื่อไรหน่วยงานของรัฐไปทำสัญญากับใครเขา เช่นไปให้เขาเช่า หรือไปทำสัญญาเรื่องอื่น ก็ต้องบังคับไปตามสัญญาและกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามปกติ เช่นถ้าปล่อยให้ใครกู้เงินไปแล้วทำเฉยเสีย พอครบอายุความ ก็ไปฟ้องร้องเอาจากเขาไม่ได้   ถ้าคิดร้าย ๆ คุณก็คงตั้งคำถามว่า ถ้าอย่างนั้นผู้บริหารก็สบายน่ะซี ปล่อยให้ญาติพี่น้องมากู้เงินแล้วปล่อยให้ขาดอายุความ จุฬาก็คงเสียหายแย่  ซึ่งก็คงเป็นจริง ถ้าจุฬามีแต่ผู้บริหารแย่ ๆ อย่างนั้น แต่แม้กระนั้นในที่สุดจุฬาก็จะไม่เสียหาย เพราะขึ้นชื่อว่าของหลวงแล้ว ย่อมตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้เสมอ  ในกรณีที่เกิดมีผู้บริหารแย่ ๆ อย่างนั้น จุฬาก็ต้องไปฟ้องเรียกเงินเอาจากผู้บริหาร ซึ่งต้องรับผิด เต็มที่

       ที่เขียนมาว่ามีบทบัญญัติแอบแฝงอะไรนั้นน่ะ คงอธิบายไม่ไหวหรอก เอาเป็นว่าลองไปถามคณาจารย์ที่คณะนิติศาสตร์ก็แล้วกัน เขาคงอธิบายให้ได้หรอก

      


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 มกราคม 2551