ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    034178 หน่วยงานของรัฐสามารถไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติใดได้หรือไม่นายสงสัยจึงขอถาม12 มีนาคม 2552

    คำถาม
    หน่วยงานของรัฐสามารถไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติใดได้หรือไม่

    กราบเรียน

    คำถามค่อนข้างยาวนะครับ ขอเรียนให้ทราบก่อนว่าตอนนี้ผมเป็นบุคคลากรสัญญาจ้างของมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย)แห่งหนึ่ง ตอนทำสัญญานั้นในหนังสือสัญญาของมหาวิทยาลัยมีอยู่ข้อหนึ่งเขียนว่า "สัญญาจ้างฉบับนี้ไม่อยู่ภายใต้ข้อบังคับและหลักเกณฑ์ตามกฎหมายแรงงาน" ผมจึงสงสัยว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล (?) หรือหน่วยงานของรัฐสามารถกำหนดหรืออกระเบียบของตนเองว่าจะอยู่ถายใต้ระเบียบกฎหมายใดกฎหมายหนึ่งได้ด้วยหรือ  ในเมื่อกฎหมายนั้นประกาศใช้เพื่อทุกคน

    คำถามคือ

    1. เดี๋ยวนี้หน่วยงานรัฐสามารถปฏิเสธหรือกำหนดการปฏิบัติตามกฎหมายได้แล้วหรือครับ

    2. หากเป็นจริงหมายความว่าหากผู้มีอำนาจของหน่วยงานนั้น หากไม่ชอบหน้าไม่ชอบใจคู่สัญญาก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องมีเหตุผล  เพราะไม่ต้องกลัวว่าจะถูกฟ้องร้องตามกฏหมายที่รัฐได้บัญญัติใช่หรือไม่ครับ

     

    ขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

     1. ไม่ได้หรอก  ถ้ากฎหมายแรงงานไม่นำมาใช้บังคับ ก็เป็นเพราะกฎหมายของหน่วยงานนั้นกำหนดไว้  ถ้ากฎหมายของหน่วยงานไม่ได้กำหนดไว้ ก็มาทำสัญญาขึ้นเองเพื่อให้พ้นจากกฎหมายแรงงานไม่ได้

    2. ดูข้อ 1


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 มีนาคม 2552