ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    041553 พนักงานมหาวิทยาลัยกับการติดแถบแพรสีพนักงานมหาวิทยาลัย20 สิงหาคม 2553

    คำถาม
    พนักงานมหาวิทยาลัยกับการติดแถบแพรสี

    เรียนอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์

    ปัจจุบันผมทำงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ที่อาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นนายกสภามหาวิทยาลัยอยู่ครับ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยออกระเบียบให้พนักงานมหาวิทยาลัยใส่ชุดขาวเหมือนข้าราชการได้ แต่อยากรบกวนถามท่านว่าพนักงานมหาวิทยาลัย (ซึ่งยังไม่ได้รับเครื่องราชอิสริยากรณ์) มีสิทธิ์ที่จะติดแถบแพรสีเปล่าที่อกด้านซ้าย ในการถ่ายรูปติดบัตรของมหาวิทยาลัยได้หรือเปล่าครับ เนื่องจากมีพนักงานงาน และอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยที่เป็นพนักงาานมหาวิทยาลัยไปถ่ายรูปโดยใส่ชุดขาวและเครื่องหมายตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และติดติดแถบแพรสีเปล่าที่อกด้านซ้าย แล้วส่งรูปถ่ายให้กองบริหารงานบุคคล ออกบัตรประจำตัวของมหาวิทยาลัยให้ แต่กองบริหารงานบุคคลแจ้งกลับมาว่าให้ไปถ่ายรูปมาใหม่เนื่องจากพนักงานมหาวิทยาลัยติดแถบแพรสีเปล่าที่อกด้านซ้ายไม่ได้ อยากรบกวนให้อาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ ชี้แนะด้วยครับ

    ด้วยความเคารพ

    คำตอบ
    แถบสีที่เห็นข้าราชการเขาติดอยู่ที่อกด้านซ้ายเวลาแต่งชุดปกติขาวนั้น เป็นเครื่องหมายบอกว่าได้รับหรือมีสิทธิประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อะไรบ้าง  เครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นมี ๒ ชนิด ๆ หนึ่งต้องได้รับพระราชทาน จึงจะมีสิทธิประดับได้ อีกชนิดหนึ่งประชาชนทั่วไปที่เกิดในยุคสมัยที่ออกเครื่องราชนั้นก็สามารถแต่งได้โดยไม่ต้องได้รับพระราชทานเป็นการเฉพาะ เช่น เหรียญในโอกาสกึ่งพุทธศตวรรษ ใครที่เติบโตในปี ๒๕๐๐ ก็มีสิทธิประดับได้ หรือเหรียญฉลอง ๖๐ พรรษา ๗๒ พรรษาของพระเจ้าอยู่หัว ประชาชนทั่วไปก็มีสิทธิประดับได้  เมื่อมีสิทธิประดับได้แล้วก็มีสิทธิติดแพรสีแสดงถึงเครื่องราชชนิดนั้น ๆ ได้   ถ้าไม่รู้ว่าจะแสดงอะไรได้บ้าง ก็ลองไปที่ร้านที่เขาทำแพรแถบขาย บอกเขา ๆ จะทำให้ครบถ้วน
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 สิงหาคม 2553