ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046497 บมนิยาม พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาพนง มทร19 มีนาคม 2555

    คำถาม
    บมนิยาม พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย

       ตามพรบ.กพอ.ฉบับที่ ๒ ได้บัญญัติบทนิยาม "พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา" ดังนั้น จึงขอเรียนหารือท่านอาจารย์ว่า จากบทนิยามดังกล่าว มหาวิทยาลัยฯ สามารถกำหนดให้มีพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีได้ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด และกรณีของลูกจ้างชั่วคราวที่มหาวิทยาลัยฯ มีการทำสัญญาจ้าง จะถือเป็นพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาตามบทนิยามนี้ด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด

      ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่า บทนิยาม พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา ได้บัญญัติไว้ครอบคลุมลูกจ้างด้วยแล้ว ซึ่งลูกจ้างเองก็ทำงานในมหาวิทยาลัยฯ เช่นเดียวกัน แต่กลับได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังเห็นว่า กฎหมายต้องการให้การบริหารงานบุคลากรทางการศึกษามีรูปแบบเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัยฯ จึงได้นำสัญญาจ้างและตัวเงินทั้งงบประมาณและรายได้ มากำหนดเป็นบทนิยามของคำว่าพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา

      จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และขอขอบพระคุณท่านอาจารย์มา ณ ที่นี่

    คำตอบ

    1. ทำได้ เพราะไม่มีอะไรห้าม  ส่วนลูกจ้างชั่วคราวนั้น ถ้ามีสัญญาจ้างต่อกันก็เป็นลูกจ้างตามคำนิยาม  ส่วนที่มีการปฏิบัติแตกต่างกัน ก็ย่อมเป็นของธรรมดา สุดแต่ตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคน ซึ่งอาจเหมือนหรือไม่เหมือนกันก็ได้ ถ้าตำแหน่งหน้าที่ต่างกัน ภาระกิจ เวลาทำงาน และค่าตอบแทนก็ย่อมแตกต่างกัน

        ในเวลาที่มีปัญหาและประสงค์จะได้คำตอบ ก็ต้องบอกตรง ๆ ว่าปัญหาคืออะไร บางทีก็อาจแนะนำได้ แต่ถ้าจ้องแต่จะตีความกฎหมาย และตีความเอาเอง  แม้จะให้ความสะใจชั่วครั้งชั่วคราว แต่เป็นการยากที่คนที่เขามีอำนาจหน้าที่เขาจะคล้อยตาม คนนอกก็ยากที่จะตอบให้เกิดประโยชน์ได้  ยิ่งตั้งคำถามแบบข้อสอบ ในทำนอง ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด คำตอบที่ได้ยิ่งจะไม่เกิดประโยชน์หรือสร้างความเข้าใจได้ 


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 มีนาคม 2555