ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048131 อำนาจและหน้าที่สภามหาวิทยาลัย ตาม พ.ร.บ. 2547อาจารย์ มรภ.16 ตุลาคม 2555

    คำถาม
    อำนาจและหน้าที่สภามหาวิทยาลัย ตาม พ.ร.บ. 2547

    อ้างถึง พรบ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
              มาตรา 18 สภามหาวิทยาลัยมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจกรรมทั่วไปของมหาวิทยาลัย และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้

              (9) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน ผู้อำนาจการสำนัก และผู้อำนวยการศูนย์ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ
    ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และ
    ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ

              มาตรา 37 ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณบดีจากผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรองรับ และได้ทำการสอนหรือมีประสบการณ์ด้านการบริหารมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีในมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

     

              จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าขอเรียนถามท่านมีชัย ด้วยความเคารพ ดังนี้
              1. เมื่อ พรบ. 2547 ให้อำนาจและหน้าที่สภามหาวิทยาลัยในการแต่งตั้ง คณบดี แต่
    สภามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งให้คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ลงคะแนนลับเพื่อเลือกคณบดี ถือเป็นการกระทำเกินอำนาจและหน้าที่ หรือถูกต้องตามบทบัญญัติใน พรบ.หรือไม่

              2. จะมีวิธีการใด/อย่างไรที่จะไม่ให้คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ลงคะแนนลับเพื่อเลือกคณบดี หรือหัวหน้าหน่วยงานเทียบเท่าคณะ เพราะคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่

    เป็นบุคคลภายนอก แล้วมาตัดสินใจเลือกคนที่จะเป็นคณบดี ซึ่งถูกชี้นำโดยผู้อื่นปราศจากการ

    พิจารณาข้อมูลอื่นของผู้ได้รับการสรรหาประกอบการตัดสินใจเลย
              3. ควรมีวิธีการใดที่โปร่งใส เป็นปรนัย ให้คะแนน และให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เข้ารับการสรรหาเพื่อดำรงตำแหน่งผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิในสภามหาวิทยาลัยซึ่งได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทำตัวไม่เป็นกลาง หรือถูกชี้นำ

              หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะให้ความกรุณาในการตอบ
    คำถาม กราบขอบพระคุณเป็น
    อย่างสูง

    คำตอบ

    1. ลองไปอ่านข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาคณบดีฯ ดูเสียก่อนไม่ดีหรือ  และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร สภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรในรูปของคณะบุคคล เมื่อจะทำอะไรก็ต้องมีมติ การมีมติก็คือการลงคะแนน ส่วนจะลงคะแนนเปิดเผยหรือลับ ก็เป็นเรื่องของสภามหาวิทยาลัยที่จะกำหนด

    2. การที่สภาฯลงคะแนนลับ ก็เป็นธรรมและดีที่สุดแล้ว จะได้ไม่ต้องเกรงใจใครในการทีจะเลือกใคร  ส่วนที่คุณบอกว่าสภามิได้พิจารณาข้อมูลของผู้ได้รับการสรรหาประกอบการพิจารณาน่ะ คุณไปรู้ได้อย่างไรว่าเขาไม่ได้พิจารณา

    3. การมีการสรรหา และมีการลงคะแนนลับ น่ะ เป็นการโปร่งใสที่สุดแล้ว เพราะทุกคนสามารถทำได้โดยปราศจากอคติ เพราะไม่มีใครรู้ว่าใครลงคะแนนให้ใคร การที่ใครเขาไม่เลือกคนที่คุณอยากให้เลือก ไม่ได้แปลว่าเขาไม่เป็นกลาง หรอก  เขาอาจจะเป็นกลางอย่างแท้จริงจึงไม่เลือกคนที่คุณอยากให้เขาเลือกก็ได้ นอกจากนั้นคนที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิน่ะ เขาไม่ถูกชี้นำอะไรได้ง่าย ๆ หรอก นอกจากเขาเห็นไปในทำนองเดียวกันอยู่แล้ว

         คำตอบข้างต้นอาจจะไม่ถูกใจ  แต่ก็อย่านึกว่าคนตอบไม่เป็นกลางหรือถูกชี้นำก็แล้วกัน เพราะที่ตอบไปก็ไม่รู้ว่า มรภ.ที่ไหน และใครแข่งกับใคร เป็นคำตอบกลาง ๆ ที่มองจากแง่มุมของคนภายนอกที่ไม่มีส่วนได้เสีย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 ตุลาคม 2555