ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040753 การมอบอำนาจต่อนายยอดชาย ภูแก้ว22 มิถุนายน 2553

    คำถาม
    การมอบอำนาจต่อ

    เรียน  อาจารย์มีชัย  ที่เคารพ

    อ้างถึง คำถามที่  040253  ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553  ที่ท่านตอบว่า ถ้าคำสั่งมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่ได้ห้ามการมอบอำนาจต่อ ผู้ว่าฯก็มอบอำนาจต่อได้ตามกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน นั้

    กระผมขอเรียนเพิ่มเติมว่า  ในกรณีนี้ได้มีคำอธิบาย ของสำนักงาน ก.พ.ร อธิบายมีข้อความว่า "การที่กฎหมายกำนดให้รัฐมนตรี เป็นผู้แต่งตั้งนายทะเบียน ถือเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดตัวบุคคลผู้มีอำนาจอนุญาตไว้เป็นประการอื่นโดยเฉพาะ การใช้อำนาจของนายทะเบียน  จึงเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายโดยเฉพาะ ไม่ใช่กรณีการปฏิบัติราชการโดยปกติในฐานะผู้แทนหน่วยงาน ดังจะเห็นได้จากกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาราชการแผ่นดินในปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายทะเบียน อาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้  ดังนั้น  ผู้ดำรงตำแหน่งนายทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นโดยตำแหน่ง หรือ เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง  การใช้อำนาจดังกล่าวจึงเป็นอำนาจเฉพาะตัว  ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวจึงต้องใช้อำนาจด้วยตนเองไม่สามารถมอบอำนาจให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้

    กระผมมีความเห็นว่า  เมื่อพิจารณาจากคำอธิบายของ ก.พ.ร. แล้ว น่าจะหมายความว่า ไม่สามารถมอบอำนาจบุคคลใดให้ปฏิบัติราชการแทนได้เลย  ยกเว้น  รักษาราชการแทน หรือ รักษาการในตำแหน่ง  เท่านั้น 

     เพื่อโปรดพิจารณาอธิบาย

      ขอแสดงความนับถือ

       

    คำตอบ
    การมอบอำนาจนั้นทำได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน วรรคสามและวรรคสี่ของมาตรา ๓๘ แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารฯ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 มิถุนายน 2553