ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    041021 ขออนุญาตและขอโอกาสส่งเหตุผลและคำชี้แจง กรณี Smart Card เนื่องจากไม่มีโอกาสได้ชี้แจงในคณะกรรมการกฤษฎีกาครับนายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร ผู้ช่วยผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์)12 กรกฎาคม 2553

    คำถาม
    ขออนุญาตและขอโอกาสส่งเหตุผลและคำชี้แจง กรณี Smart Card เนื่องจากไม่มีโอกาสได้ชี้แจงในคณะกรรมการกฤษฎีกาครับ

    เรื่อง   ขออนุญาตชี้แจงหลักฐานข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาตีความ

     

    เรียน   ประธานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1

     

    อ้างถึง   หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0205.07/2162 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2553

     

    สิ่งที่ส่งมาด้วย    1. คำชี้แจงของนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย  จำนวน 8 แผ่น                        

    2. สำเนารายงานการประชุม  คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทย  คณะที่ 1 ครั้งที่  36/2549  วันที่ 18 ตุลาคม 2549  จำนวน 14 แผ่น            

     3. สำเนาคำอธิบายมาตรการป้องกันการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชนฯ ปี 2550       จำนวน 3 แผ่น

                      

     

                  ตามหนังสือที่อ้างถึง   กระผมนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์   ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (อดีตอธิบดีกรมการปกครอง/เจ้าพนักงานออกบัตร)  ขอความกรุณาประธานคณะกรรมการกฤษฎีการฯ และคณะ โปรดอนุญาตให้กระผมได้มีโอกาสจัดส่งเอกสารหลักฐานข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาฯ   ใช้ประกอบการพิจารณา   นั้น

                       กระผมขอชี้แจงเหตุผลและเอกสารหลักฐานที่ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ดังกรณีต่อไปนี้

                        1. ไม่ควรมี Microtext สีแดง เพราะขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ.2542) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ.2547) และ กฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ.2550)

                        2. Hologram ควรเห็นแผนที่ประเทศไทย เหมือนในแนบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่  22     (พ.ศ.2550)

                        3.ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2547) มีรูปภาพพระบรมมหาราชวัง  แต่ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2550) ไม่มีรูปภาพพระบรมมหาราชวัง ดังนั้นบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกตามกฎกระทรวงฉบับที่ 22 มีผลบังคับใช้  คือ  ต้องไม่มีรูปภาพพระบรมมหาราชวัง   (กรณีนี้เป็นคำชี้แจงของกรมการปกครอง  และอาจเป็นข้อสงสัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1)        

    กระผมขอชี้แจงประเด็นต่างๆ ดังนี้ (รายละเอียด

    ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1)

    1. อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานออกบัตร (อธิบดีกรมการปกครอง)           

     

                                                                                        

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526  และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม  โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ  แต่งตั้งนายวงศ์ศักดิ์  สวัสดิ์พาณิชย์ อธิบดีกรมการปกครอง

    เป็นเจ้าพนักงานออกบัตร ซึ่งมีอำนาจกำหนด วัสดุบัตรและเคลือบด้วยวัสดุป้องกันการปลอมแปลง   ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ.2542) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ.2547) ข้อ 3 และกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ.2550)  ข้อ 2 กำหนด

     

    2. คำชี้แจงกรณีต่างๆ  

                            2.1 ความเห็นของคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณีไม่ควรมี  Microtext สีแดง

                       กระผมขอชี้แจงว่า   Microtext สีแดง เป็นวัสดุป้องกันการปลอมแปลงบัตรฯ โดย Microtext เป็นลายเส้นสีแดง เป็นลายโค้งพาดผ่านด้านหน้าบัตรฯ บนรูปบัตรฯ เหตุที่ต้องมี Microtext สีแดง  มีมูลเหตุมาจากที่ผ่านมามีการปลอมแปลงบัตรฯ โดยเปลี่ยนภาพถ่ายเป็นหลัก โดยตัวอักษรขนาดเล็ก (Microtext) จะมีคำว่า THAILAND พิมพ์ด้วยหมึกสีแดงเพื่อป้องกันการปลอมแปลงภาพถ่ายบุคคล ซึ่งหากมีการลอกเพื่อเปลี่ยนแปลงภาพบุคคลจะทำให้ตัวอักษรขนาดเล็ก (Microtext) คำว่า THAILAND สีแดงถูกทำลาย   ซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

                        กฎกระทรวงตั้งแต่ฉบับที่ 12 เป็นต้นมา ไม่ได้กำหนดว่าวัสดุป้องกันการปลอมแปลงจะมีอะไรบ้าง จะมีสีอะไร  และมีลักษณะอย่างไร การกำหนดวัสดุป้องกันการปลอมแปลงบัตรฯ เป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าพนักงานออกบัตร  การกำหนดรูปแบบบัตรตามท้ายกฎกระทรวง เป็นการกำหนดไว้กว้างๆ   ซึ่งรวมทั้งวัสดุป้องกันการปลอมแปลงบัตรก็กำหนดไว้กว้างๆ  ด้วย  เนื่องจากระบบการป้องกันการปลอมแปลง ต้องถือว่าเป็นความลับของทางราชการที่ไม่พึงเปิดเผย  เพื่อป้องกันการปลอมแปลงบัตร  การกำหนดระบบการป้องกันการปลอมแปลงบัตรฯ จึงอยู่ที่ดุลพินิจของเจ้าพนักงานออกบัตร จะกำหนด และเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานออกบัตรที่สามารถดำเนินการได้ตามที่กฎกระทรวงฉบับที่ 18

    (พ.ศ.2542) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ.2547) ข้อ 3 และกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ.2550)  ข้อ 2 กำหนด

     

                            2.2 ความเห็นของคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กรณี Hologram ควรเห็นแผนที่ประเทศไทย เหมือนในแนบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่  22  (พ.ศ. 2550)

                        กระผมขอชี้แจงว่า   ภาพที่เห็นใน Hologram จะไม่เหมือนกับในท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ.2550)  เพราะเจตนาในการทำ Hologram เพื่อต้องการให้เป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันการปลอมแปลง   Hologram  รุ่นที่รับรอง (แบบ 1E) เป็นภาพสามมิติต้องเอียงดูจึงจะเห็นภาพประเทศไทย  โดยการจัดทำ Hologram จะซ้ำกับรุ่นที่แล้วไม่ได้  ซึ่งเป็นไปตามTOR ของการจัดซื้อรุ่นที่ผ่านมา

    รวมทั้งกฎกระทรวงไม่ได้กำหนดว่าต้องมองมุมไหน                                                                                                                 Hologram ถือว่าเป็นวัสดุที่เป็น “สัญลักษณ์ตรวจสอบบัตร”  จึงเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานออกบัตรซึ่งก็คืออธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้กำหนด    การที่ดูยากเพราะเป็นภาพสามมิติ  ไม่ได้มี

    วัตถุประสงค์ให้ประชาชนทั่วไปดู  แต่มีไว้สำหรับเจ้าหน้าที่ของทางราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไว้ตรวจสอบบัตรฯ  และเป็นวัสดุป้องกันการปลอมแปลง   เป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ.2542) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ.2547) ข้อ 3   และกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ.2550) ข้อ 2 กำหนด

     

                            2.3  ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (2547) มีรูปภาพพระบรมมหาราชวัง  แต่ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2550) ไม่มีรูปภาพพระบรมมหาราชวัง ดังนั้นบัตรประจำตัวประชาชนที่ออกตามกฎกระทรวงฉบับที่ 22 มีผลบังคับใช้  คือ  ต้องไม่มีรูปภาพพระบรมมหาราชวัง   (กรณีนี้เป็นคำชี้แจงของกรมการปกครอง  และอาจเป็นข้อสงสัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1)  

                        กระผมขอชี้แจงว่า ในการประชุมจัดทำร่างกฎกระทรวงฉบับที่ 22 ของคณะกรรมการร่างกฎหมายของกระทรวงมหาดไทยคณะที่ 1 เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549  กรมการปกครองได้ขอแก้ไขกฎกระทรวงฉบับที่ 18 (พ.ศ.2542) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 21 (พ.ศ.2547) โดยขอแก้ไขใน 2 ประเด็น สรุปได้คือ ให้ปรับปรุงคำขอมีบัตรฯ และให้มีตราครุฑแสดงไว้บนบัตรให้เห็นชัดเจน  อีกทั้งในการประชุม กรมการปกครองได้ชี้แจงในที่ประชุมครั้งนั้นว่า

                      “ บัตรที่ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์แบบอเนกประสงค์ ที่ใช้ปฏิบัติงานในขณะนี้ ปรากฏเครื่องหมายตราครุฑ อยู่ในมาตรการป้องกันการปลอมแปลง มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องขยายลายพื้นสีฟ้าบนบัตร เครื่องหมายตราครุฑพร้อมลายกีโรเช่  จึงจะปรากฏเป็นลวดลายบนพื้นบัตร กระจายเป็น  BACKGROUND ตามมาตรการป้องกันการปลอมแปลง (Security Pattern) ซึ่งไม่ได้สร้างจากเม็ดสกรีนปกติ แต่ใช้ความหนาบางของตัวอักษรหรือภาพ ทำให้เกิดเป็นลวดลายป้องกันการปลอมแปลงปรากฏเป็น    รูปสัญลักษณ์ของพระบรมมหาราชวังและเครื่องหมายตราครุฑ และยังมีเครื่องหมายตราครุฑสีฟ้าพร้อมลายกีโรเช่สะท้อนแสง อีก 1 ภาพ ที่พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ UV (invisible ink) มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถมองเห็นได้ด้วยแสงอัลตร้าไวโอเลท” (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 2)

                     จะเห็นได้ว่า ตามรายงานการประชุมนี้ต้องการแก้ไขเพียง 2 ประเด็น คือ ปรับปรุงคำขอมีบัตรฯ และเพิ่มเครื่องหมายตราครุฑไว้บนบัตรให้เห็นได้ชัดเจน  ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นบรรจุไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 22    แต่ไม่ทราบเป็นเพราะเหตุอะไร  แบบบัตรท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2550)  จึงไม่มีภาพพระบรมมหาราชวัง         เหมือนแบบท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ 21(พ.ศ. 2547)  ทั้งๆ ที่ ไม่ได้เสนอให้ตัดออกในการประชุมครั้งนี้    

                         ในการจัดซื้อตัวบัตรฯ ครั้งที่ 2  พ.ศ. 2550 ของ ICT สัญญาลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2550 จำนวน 26 ล้านบัตร กรมการปกครองได้กำหนดมาตรการป้องกันการปลอมแปลงบัตรประจำตัวประชาชน ให้มีเครื่องหมายตราครุฑ   ตามที่กฎกระทรวง  ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2550)  กำหนด รวมทั้งให้คงรูปสัญลักษณ์ของพระบรมมหาราชวังไว้ เนื่องจากเป็นลวดลาย ป้องกันการปลอมแปลง ทำจากวัสดุพิเศษ   (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 3)                  

                                                                                                                                                                                                                 บัตรฯ รุ่นที่รับรองไป ( แบบ 1 E ) ก็คงรูปสัญลักษณ์ของพระบรมมหาราชวังไว้ เนื่องจากเป็นลวดลาย ป้องกันการปลอมแปลง ทำจากวัสดุพิเศษ  และยังเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยด้วย  

    เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานออกบัตรที่จะใช้ดุลพินิจในการกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งตัวบัตรฯ ในการจัดซื้อ ครั้งที่ 2  พ.ศ. 2550  ของ ICT 

    เมื่อนำมาใช้แล้วไม่ปรากฏว่ามีการปลอมแปลงสัญลักษณ์ของพระบรมมหาราชวังเลย  

                         ทั้งนี้การตีความควรดูเจตนารมณ์ของกฎหมายในการกำหนดรูปแบบบัตร   เพื่อป้องกันการ  ปลอมแปลง หากตีความโดยไม่ดูเจตนารมณ์ในการกำหนดรูปแบบบัตร  โดยเห็นว่ารูปแบบบัตรต้องไม่มีรูปสัญลักษณ์ของพระบรมมหาราชวัง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2550) บัตรที่ออกให้ประชาชนใช้ในปี 2551 – พฤษภาคม 2553 จะผิดกฎกระทรวงจำนวน 26 ล้านบัตรทันที

     

                                3. สรุป

                         กฎกระทรวงกำหนดวิธีการป้องกันการปลอมแปลงบัตรไว้กว้างๆ ไม่ลงลายละเอียด การป้องกันการ ปลอมแปลง ต้องถือว่าเป็นความลับของทางราชการที่ไม่พึงเปิดเผย และต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการกำหนดระบบการป้องกันการปลอมแปลงบัตรฯ  ให้เหนือกว่ามิจฉาชีพ  ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานออกบัตรที่จะใช้ดุลพินิจในการดำเนินการ

                                การกำหนด Micro text สีแดง   และการกำหนด Hologram  เป็นการกำหนดวัสดุป้องกันการปลอมแปลง และเป็นสัญลักษณ์ตรวจสอบ ส่วนการมีรูปภาพพระบรมมหาราชวัง  เป็นลวดลายที่ป้องกันการปลอมแปลง ที่ทำจากวัสดุพิเศษ  และยังเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยด้วย ทั้ง 3 รายการเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานออกบัตรซึ่งก็คืออธิบดีกรมการปกครอง  ที่จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณากำหนดได้โดยไม่ผิดกฎกระทรวง

     

                        จึงเรียนมาเพื่อโปรดกรุณาพิจารณา และขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ โอกาสนี้                           

    ขอแสดงความนับถือ

    นายวงศ์ศักดิ์  สวัสดิ์พาณิชย์

    ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย

     

     

    สำนักงานผู้ตรวจราชการ

    เขตตรวจราชการที่ 7

    โทร./โทรสาร  0-2222-1368

    มือถือ 08-1537-2312

    คำตอบ
    ควรส่งไปที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 กรกฎาคม 2553