ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    042378 การจ่ายค่าเลี้ยงดู (ต่อ)พงษ์22 ตุลาคม 2553

    คำถาม
    การจ่ายค่าเลี้ยงดู (ต่อ)

    ตามที่กระผมได้สอบถามอาจารย์เรื่องที่กระผมไปเซ็นสัญญาจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรโดยไม่ได้ระบุวันที่สิ้นสุด ทำให้ผมกลัวว่าจะต้องจ่ายไปตลอดชีวิตนั้น อาจารย์ตอบมาว่า "การอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น พ่อแม่มีหน้าที่เพียงบุตรบรรลุนิติภาวะ" ซึ่งตรงตามที่ผมได้ไปเปิดประมวลกฎหมายแพ่งดู  แต่จากการพูดคุยกับทนายและอัยการได้ความว่า สิ่งที่ผมเซ็นไปนั้นมันเป็น "สัญญา" และสัญญาจะมีอำนาจเหนือกว่าที่ประมวลกฏหมายแพ่งกำหนดไว้ (ว่าให้เลี้ยงดูแค่ลูกบรรลุนิติภาวะ) อัยการให้ความเห็นว่าหากมีการฟ้องร้องที่ศาล ผมก็แพ้ ต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูไปเรื่อย ๆ ตามที่เขาเรียกร้องเพราะศาลจะมองว่าผมได้ทำการ"สัญญา" ไปแล้ว

    คำถามคือว่า ตามที่ประมวนกฎหมายกำหนด การอุปการะเลี้ยงดูบุตรนั้น พ่อแม่มีหน้าที่เพียงบุตรบรรลุนิติภาวะ จะสามารถเอามาคัดค้านสิ่งที่ผมเซ็นในสัญญา (ที่ไม่ได้ระบุวันสิ้นสุด) ได้หรือไม่ครับ

    ต้องขอบคุณอาจารย์มากครับ ผมกังวลมากว่าต้องจ่ายไปตลอด เงินไม่ใช่น้อย

    คำตอบ
    ถ้าในสัญญาไม่ได้ระบุว่าคุณจะต้องส่งไปถึงเมื่อไร ก็ต้องถือว่าคุณมีหน้าที่ส่งเสียเพียงเท่าที่บิดามีภาระจะต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 ตุลาคม 2553