ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    042989 การหย่าหรือการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินคนที่อยากรู้15 ธันวาคม 2553

    คำถาม
    การหย่าหรือการมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน

    เรียนถาม

    ปัจจุปันนี้พี่สาวของผมเลิกลากันกับพี่เขยแต่ตอนนี้ยังไม่ได้ทำการหย่าเป็นเรื่องเป็นราวเนื่องจากพี่เขยไม่ยอมหย่า

    คือเรื่องมีอยู่ว่า ประมาณตนปีพี่สาวผมท้องใกล้คลอดและช่วงนั้นพอดีพี่เขยไปมีคนใหม่หลังจากที่พี่สาวคลอดลูกพี่สาวกับพี่เขยก็เลยแยกกันอยู่และพี่เขยก็เลยไปอยู่กับเเฟนใหม่แต่ส่วนหลานปัจจุปันนี้อยู่กับแม่ของผมเป็นคนเลี้ยงและก็ทางพี่เคยนั้นไม่ได้ส่งเงินมาเป็นค่าเลียงดูเลย

    คำถาม

    1.ในกรณีนี้ถ้าไม่ทำการหย่าจะเป็นอะไรหรือเปล่าเนื่องจากพี่เขยเขาไม่ยอมหย่า

    2.พี่เขยเขายังมีสิทธิในตัวหลานของผมอยู่หรือเปล่าแต่เขาได้ทำการอุปการะเลี้ยงดูหลานผมเลย

    3.แต่ถ้าสมมุติไม่มีการหย่าแต่ถ้าในอนาคตพี่สาวผมเกิดเป็นอะไรพี่เขยจะสามารถมาเรียกร้องสิทธิ์ในการรับหลานไปอุปการะเลี้ยงดูได้หรือเปล่าและเขาจะมีสิทธิในทรัพย์สินของพี่สาวผมหรือเปล่าและถ้ามีสิทธิทางพี่สาวผมควรทำเช่นไรรบกวนช่วยหาทางแนะนำให้หน่อยครับว่าควรทำเช่นไร

    ขอขอบพระคุณที่ให้คำปรึกษา

     

    คำตอบ

    1. เมื่อยังไม่ได้หย่า ก็ยังคงเป็นสามีภริยาตามกฎหมายกันต่อไป ไปยุ่งกับใครเข้า ก็เป็นการทำชู้

    2. เมื่อเขาเป็นพ่อ เขาก็ย่อมมีสิทธิในตัวลูกของเขา

    3. ถ้าแม่เป็นอะไรไป พ่อก็ย่อมมีสิทธิเอาลูกไปเลี้ยง  ส่วนในเรื่องทรัพย์สินนั้น ถ้าไม่ต้องการให้ตกเป็นของพี่เขย ก็ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สนของตัวให้ลูกเสียทั้งหมด ก็ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    15 ธันวาคม 2553