ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044359 ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสจะตกเป็นของลูกเมียน้อยไหมลูกเมียหลวง22 เมษายน 2554

    คำถาม
    ทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสจะตกเป็นของลูกเมียน้อยไหม

    เรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพ

          พ่อกับแม่ของดิฉันมีจดทะเบียนสมรสกัน ในระหว่างอยู่ด้วยกันก็หาทรัพย์สินมาได้ ทั้งที่ดิน สวนยาง บ้าน เงินสด ด้วยความที่แม่ไว้ใจพ่อมาตลอด สินสมรสจึงใส่ชื่อพ่อหมด ต่อมาแม่ดิฉันรู้ว่าพ่อมีเมียน้อย และเมียน้อยตั้งท้องกับพ่ออยู่ด้วย ในระหว่างนี้พ่อจำใจโอนทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้เมียหลวง เพราะถือว่าทรัพย์สินนั้นหาร่วมกันมา(เพื่อความยุติธรรม) แต่ก็ยังเหลือสินสมรสบางส่วนเป็นชื่อพ่ออยู่ ซึ่งพ่อก็รักเมียน้อยมากด้วย ดิฉันจึงคิดว่าเมื่อลูกเมียน้อยเกิดมา พ่อคงจดทะเบียนรับรองบุตร

    1.ถ้าพ่อเกิดเป็นอะไรไป สินสมรสที่เป็นชื่อพ่อทั้งหมด แล้วพ่อไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์สินจะตกเป็นของใครบ้าง หรือถ้าพ่อทำพินัยกรรมยกให้ลูกเมียน้อยทั้งหมด ลูกเมียหลวงจะมีสิทธิในทรัพย์สินนั้นไหมคะ หรือมีสิทธิเท่าไหร่

        ส่วนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสส่วนหนึ่งที่โอนให้ในชื่อเมียหลวงแล้ว ถ้าเมียหลวงจะใส่ชื่อลูก(เมียหลวง)เพิ่มเป็น 2 ชื่อร่วมกัน ในทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสนั้น (สามีและเมียหลวงยังมีทะเบียนสมรสกัน)

      2.(ถามต่อจากด้านบน)อนาคตถ้าเมียหลวงเป็นอะไรไป ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของใคร พ่อดิฉันมีสิทธิในทรัพย์สินนั้นไหม แล้วลูกเมียหลวงที่มีชื่อร่วมอยู่จะได้สิทธิอะไรบ้าง ใครได้สิทธิขาดในเรื่องนี้ ในกรณีถ้าพ่อได้ทรัพย์ชิ้นนี้คนเดียวลูกไม่มีเอี่ยว ฐานะลูกจะฟ้องร้องอะไรได้ไหมคะ เพื่อเอาทรัพย์คืนมา ดิฉันเป็นห่วงว่าถ้าพ่อมีสิทธิในทรัพย์ พ่อก็จะยกให้ลูกเมียน้อย ส่วนดิฉันลูกเมียหลวงก็จะเสียเปรียบคะ 

     3. หรือทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสที่โอนให้ชื่อเมียหลวงแล้ว เมียหลวงจัดการโอนเป็นชื่อลูกคนเดียวเลย (เมียหลวงกังวลว่าถ้าโอนเป็นชื่อลูกแล้ว ตัวเองจะถูกทอดทิ้ง ท่านคิดมากนะคะ) เรื่องนี้มีทางออกใดที่เป็นประโยชน์เพื่อปกป้องสิทธิของแม่และดิฉันบ้างคะ

    4.ถ้าทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสที่โอนให้ชื่อเมียหลวงแล้ว เมียหลวงจัดการโอนเป็นชื่อลูกคนเดียวเลย แล้วเมียหลวงก็หย่ากับพ่อดิฉัน เมียหลวงจะได้เปรียบหรือเสียเปรียบในทรัพย์อย่างไรบ้างคะ ควรหย่าหรือไม่คะ

    ขอบคุณคะ

     

     

       

    คำตอบ

    1. อะไร ๆ ที่เป็นสินสมรส ไม่ว่าจะอยู่ในชื่อของใคร ก็เป็นของสามีและภริยาคนละครึ่งเสมอ  เวลาคนหนึ่งตายไปสินสมรสก็จะแยกจากกัน ส่วนของคนตายก็ตกไปยังทายาทโดยธรรม (ได้แก่เมียและลูก) หรือผู้รับมรดกตามพินัยกรรม  การที่สินสมรสอยู่ในชื่อคนหนึ่ง แล้วคนนั้นเอาไปยกให้ใคร พ่อถึงเวลาจะแบ่งสินสมรสกัน อีกฝ่ายหนึ่งอาจหักส่วนที่ยกให้คนอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมก็ได้

    2. ตามกฎหมายนั้น พ่อแม่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูลูกจนลูกบรรลุนิติภาวะเท่านั้น หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของลูกที่จะต้องปฏิอุปการะพ่อแม่ตามฐานานุรูปต่อไปจนกว่าพ่อแม่จะตาย  ทรัพย์สินของพ่อแม่ที่มีอยู่นั้น พ่อแม่ไม่มีหน้าที่ยกให้ลูกคนไหน ถ้าจะยกให้ลูกก็เป็นเรื่องของความรักความห่วงใยที่พ่อแม่มีให้แก่ลูก ไม่ใช่ให้เพราะมีหน้าที่ จึงไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ดูแลพ่อแม่ให้ดีเถอะ ถึงเวลาท่านก็คงยกให้เองแหละ อย่าไปตั้งหน้าตั้งตาหวังว่าเงินของพ่อแม่จะต้องเป็นของเรา

    3. ท่านก็คิดของท่านถูก ขนาดยังไม่ตายลูก ยังเป็นห่วงกังวลว่าจะได้เปรียบเสียเปรียบถึงขนาดนี้ ถ้ายกให้ไปแล้ว ท่านอาจจะต้องน้ำตาตกในเหมือนคนอื่น ๆ ที่เคยประสบมาแล้วก็ได้

    4. ถ้าจะหย่าก็หย่าได้โดยไม่จำเป็นต้องโอนทรัพย์ทั้งหมดให้ลูก เพราะหมิ่นเหม่ต่อความลำบากในวันข้างหน้า เมื่อหย่าแล้วทรัพย์สินทั้งหมดก็ต้องแบ่งคนละครึ่ง ของใครของมัน เมื่อเป็นของแม่แล้ว ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ทรัพย์นั้นก็จะยังประโยชน์ให้แก่ตัวเอง  เมื่อตายไปเมื่อไร อะไรเหลือเท่าไรก็ย่อมตกเป็นของลูกอยู่เอง

        


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 เมษายน 2554