ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044490 อยากทราบว่าภรรยาโดยพฤตินัยมีสิทธิอะไรบ้างหรือไม่ครับแม็ค5 พฤษภาคม 2554

    คำถาม
    อยากทราบว่าภรรยาโดยพฤตินัยมีสิทธิอะไรบ้างหรือไม่ครับ

    สวัสดีครับท่านมีชัย คือผมอยากทราบว่า กม. ของไทยเรานี้ ผู้หญิงที่เป็นภรรยาโดยพฤตินัยจะมีสิทธิ ทาง กม. อะไรบ้างครับ เช่น ถ้ากรณีที่ท้องแล้ว แต่ฝ่ายชายยังไม่จดทะเบียนรับรองบุตร สามารถมีสิทธิฟ้องร้องได้หรือไม่ และกรณีที่ไม่ท้อง ถ้าฝ่ายชายนอกใจจะมีสิทธิฟ้องร้องหรือไม่

    ถ้ากรณีไม่มีสิทธิ ผมอยากทราบว่าทำไมจึงไม่มีการแก้ไข กม. ในเรื่องนี้เสียที ? เหมือนเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ชายที่เจ้าชู้อยู่ฝ่ายเดียวเลยน่ะครับ

    ขอบคุณครับ สำหรับคำตอบ

    คำตอบ

    ถ้าอยากให้เขาจดทะเบียนรับรองเด็กเป็นบุตร ทั้งผู้หญิงและเด็กก็มีสิทธิฟ้องได้ หรือถ้าไปหลอกลวงเขาจนทำให้เขาเสียหาย คนถูกหลอกลวงก็ฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ ซึ่งหมายถึงทั้งสองฝ่าย ส่วนการนอกใจนั้นคงทำอะไรไม่ได้ เพราะเมื่อไม่ได้เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ต่างฝ่ายต่างก็มีอิสระ ความผูกพันที่มีอยู่เป็นเรื่องทางจิตใจที่มีต่อกัน กฎหมายเข้าไปยุ่งด้วยไม่ได้

        การที่ชายและหญิงจะไปร่วมหลับนอนกัน ไม่ว่าจะเป็นการชั่วครั้งชั่วคราว หรือเป็นการถาวร ถ้าต่างฝ่ายต่างบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ใช่เป็นเรื่องของการข่มขืนหรือฝืนใจ กฎหมายก็ไปห้ามไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา  และการสมรสตามกฎหมายนั้นก็เป็นเรื่องของความสมัครใจ จะไปบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาสมรสกับอีกฝ่ายหนึ่ง ก็ไม่ได้ แม้ขนาดหมั้นกันแล้วก็ยังบังคับไม่ได้  คุณก็เป็นผู้ชาย ถ้าคิดว่ามันไม่ดี ก็อย่าไปทำก็แล้วกัน  


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 พฤษภาคม 2554