ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045386 แยกกันอยู่ 3 ปีแล้วหญิงหญิง26 กรกฎาคม 2554

    คำถาม
    แยกกันอยู่ 3 ปีแล้ว

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่นับถือ

    ดิฉันกับสามีแยกกันอยู่มาเข้าปีที่ 3 แล้วค่ะ แต่ระหว่างนี้เราได้ตกลงให้ฝ่ายสามีส่งเสียค่าเลี้ยงดูให้ด้วย แต่เราไม่มีบุตรด้วยกันนะคะ  อยากเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้ค่ะ

    1. การแยกกันอยู่ถึง 3ปี ถ้าหากไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขอฟ้องหย่า สถานภาพการสมรสจะยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิมหรือไม่คะ?

    2. ถ้าฝ่ายสามีจะถือเอาเหตุแยกกันอยู่ครบ 3ปี มาอ้างเพื่อฟ้องอย่ากับดิฉันได้หรือไม่?

    3. แต่หากดิฉันสืบทราบว่าระหว่างเวลาที่แยกกันอยู่นั้น ฝ่ายสามีไปมีความสัมพันธ์กับหญิงอื่นฉันท์ชู้สาว ดิฉันจะไม่ยินยอมหย่าให้ได้หรือไม่

    4. หากไม่มีการขอฟ้องอย่าจากฝ่ายสามี แต่เขางดส่งค่าเลี้ยงดูไปเลย ดิฉันจะเป็นฝ่ายฟ้องหย่าเสียเองและเรียกค่าเลี้ยงดู จะเป็นประโยชน์หรือไม่คะ?

     ขอขอบพระคุณค่ะ

    คำตอบ

    1. ถ้าได้จดทะเบียนสมรสกันไว้ ไม่ว่าจะแยกกันอยู่กี่สิบปี สถานภาพของการสมรสก็ยังอยู่ดี

    2. ถ้าเป็นการสมัครใจแยกกันอยู่ เมื่อครบ ๓ ปีแล้วก็ใช้เป็นเหตุฟ้องหย่าได้

    3. เวลาที่เขาฟ้องหย่าคุณก็ต้องไปสู้คดีกับเขา

    4. ไหน ๆ ก็ไม่ได้อยู่ด้วยกัน แล้ว ทำไมไม่ลองจับเข่าคุยกันดูเพื่อไปหย่ากันเสียโดยไม่ต้องฟ้องร้อง ส่วนจะเรียกค่าเลี้ยงดูเขาอย่างไรก็คุยกันดู ถ้าเขาอยู่ในฐานะที่จะส่งเสียได้ ก็จะได้ไม่ต้องไปเสียค่าทนายความฟ้องร้องให้เป็นเรื่องเป็นราว


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กรกฎาคม 2554