ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045611 การหย่า นามสกุลหลังหย่า ผลของการหย่าทางตัน6 กันยายน 2554

    คำถาม
    การหย่า นามสกุลหลังหย่า ผลของการหย่า

    เมื่อดำเนินการหย่าแล้ว เข้าใจว่าต้องเปลี่ยนไปใช้นามสกุลเดิมภายใน 60 วัน ทางสำนักงานเขตแจ้งว่า ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงสู่ระบบตรวจคนเข้าอออกเมืองด้วย จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุล และดำเนินแก้ไขเอกสารทั้งหมดภายในเวลากำหนด จึงอยากเรียนถามว่า

    1. หากดำเนินการหย่าแล้ว จะสามารถขอใช้นามสกุลสามี เพื่อมิต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงเอกสารใดได้หรือไม่ และผู้ใดมีอำนาจให้ความยินยอมได้ รวมทั้งถ้าหย่าแล้วไม่เปลี่ยนแปลงทั้งคำนำหน้าและนามสกุลสามีได้หรือไม่ (กรณีขอความยินยอมใช้นามสกุลสามีต่อไปได้)  ซึ่งหากทำได้ทั้งหมด หมายความว่าไม่ต้องแก้ไขเอกสารใดเลยใช่หรือไม่ (บัตรประชาชน พาสปอร์ต เอกสารราชการ และการเงิน)

    2. การหย่าเป็นการป้องกันภาระหนี้สินที่สามีทำขึ้นใชหรือไม่ แม้ว่าไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินการก่อหนี้ของสามี เช่นก่อหนี้ไปเล่นการพนัน

    คำตอบ

    1. เมื่อหย่ากันแล้ว สิทธิที่จะใช้นามสกุลของสามีก็เป็นอันหมดไป การจะใช้นามสกุลของเขาต่อไปได้ ก็ต่อเมื่อเจ้าของนามสกุลยินยอม ถ้าอดีตสามีเป็นเจ้าของนามสกุลก็คงง่าย แต่ถ้าเขาไม่ใช่เจ้าของนามสกุล ก็ต้องไปขอความยินยอมจากเจ้าของนามสกุล หากเจ้าของนามสกุลตายไปแล้ว ก็ต้องไปขอต่อทายาทคนที่ใกล้ชิดกับเจ้าของนามสกุลที่สุดที่ยังใช้นามสกุลนั้นอยู่  ส่วนคำนำหน้านามนั้น จะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนก็ได้   ส่วนการแก้ไขเอกสารนั้น ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยน

    2. หนี้การพนันนั้น ถึงไม่หย่า ก็ไม่ต้องไปร่วมรับผิดชอบด้วย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 กันยายน 2554