ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045823 ครอบครัวนรินทร์3 พฤศจิกายน 2554

    คำถาม
    ครอบครัว

    เรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้

    - ถ้าเราส่งค่าเลี้ยงชีพให้กับฝ่ายหญิงทุกเดือนๆแต่ต่อมาหากฝ่ายหญิงสมรสใหม่ เรายังมีหน้าที่ส่งค่าเลี้ยงชีพอยู่อีกหรือไม่ หากปรากฎว่าฝ่ายหญิงได้อยู่กินฉันสามีภรรยากับทอมกรณีเช่นนี้เราจะยกเป็นข้อต่อสู้ได้หรือไม่

    -ลูกมีสิทธิ์ที่จะใช้นามสกุลบิดา แต่หากลูกคนนั้นมีเจตนาจะทำให้นามสกุลบิดาเสียหายเช่นนี้เราจะมีใดไม่ให้ลูกใช้นามสกุลเรา เนื่องจากตอนนี้กำลังจะลงสมัครตำแหน่งในจังหวัดต่ออีกหนึ่งสมัย (เนื่องจากเกิดกรณีทำให้เกิดความเสียหายมาแล้วครั้งหนึ่ง)

     ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง

    ขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง

    คำตอบ

    - โดยปกติการจ่ายค่าเลี้ยงดู ก็ต้องจ่ายไปจนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะสมรสใหม่ หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป เช่น ฝ่ายส่งเสียค่าเลี้ยงดูยากจนลงจนไม่สามารถส่งเสียได้ หรืออีกฝ่ายหนึ่งอยู่ในฐานะที่มั่งมีเงินทองกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง  แต่การที่จะถือว่าเขาไปสมรสใหม่นั้น ต้องเป็นการสมรสโดยชอบหรืออย่างน้อยกว่าเป็นที่เห็นได้ว่าเขาไปตั้งครอบครัวใหม่ขึ้น แต่กรณีไปมีทอมอาจจะยังไม่ถึงขึ้นที่จะอ้างได้ว่าเป็นการไปสมรสหรือมีครอบครัวใหม่ได้

    -  การใช้นามสกุลของพ่อนั้น เป็นสิทธิของลูก ถ้าเขาใช้อยู่ใครก็ไปห้ามเขาไม่ได้ และถ้าเขาไม่อยากใช้ ใครก็ไปบังคับเขาไม่ได้ ถ้าลูกไปทำความเสียหายจนกระทบกระเทือนพ่อ ๆ ก็คงต้องยอมรับกรรม เว้นแต่จะประกาศตัดลูกตัดพ่อ ซึ่งก็มีผลเพียงในทางปฏิบัติให้คนเขารับรู้เท่านั้น แต่ในทางกฎหมายความเป็นพ่อลูกก็ยังคงมีอยู่


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    3 พฤศจิกายน 2554