ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045921 ปัญหาครอบครัวอรุณประไพ30 พฤศจิกายน 2554

    คำถาม
    ปัญหาครอบครัว
    เรียน อาจารย์มีชัย
    มีเรื่องรบกวนเรียนถามดังนี้ค่ะ
    1. สัญญาให้คืออะไรคะ
    2.สามีสามารถทำสัญญาให้  เพื่อยกทรัพย์สินหรือสินสมรสในส่วนสามีให้ภรรยาได้ไหมคะ
    เช่น บ้านที่ผ่อนหมดแล้ว  สามีทำสัญญาให้โดยยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ภรรยาแต่เพียงผู้เดียว
    3.ในกรณีสัญญาให้ระหว่างสามี-ภรรยา  ซึ่งสามีให้ทรัพย์สินแก่ภรรยา  จะมีเหตุเพิกถอนสัญญาได้ไหมคะ
    และเป็นเหตุอะไรบ้าง
    4.วิธีการทำสัญญาให้  ต้องทำอย่างไรคะ
    ขอบคุณค่ะ
    อรุณประไพ
    คำตอบ

    1. สัญญาให้ คือสัญญาซึ่งคนคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์นั้น

    2. ได้

    3. สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ที่ได้ทำไว้ในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนด ๑ ปี นับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยาก็ได้  เช่น วันนี้ถูกใจเป็นพิเศษ จึงทำสัญญายกทรัพย์สินให้ภริยา  พรุ่งนี้ ไม่ถูกใจ ก็บอกล้างเสีย  มะรืนนี้ เกิดถูกใจใหม่ ก็ยกให้ใหม่ได้ จะทำกันกี่สิบครั้งก็ได้

    4. ไม่ต้องทำอะไรมาก ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ เช่น แก้ว แหวน เงินทอง พอส่งมอบให้พร้อมทั้งบอกว่ายกให้ อีกฝ่ายหนึ่งรับมาไว้ แล้วตอบตกลง ก็เป็นสัญญาให้ที่สมบูรณ์แล้ว  หรือจะทำเป็นหนังสือบอกเล่าเก้าสิบว่า เกิดความดีงามอย่างไร จึงยกทรัพย์ชิ้นนั้น ๆ ให้ แล้วลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งส่งมอบทรัพย์สินให้ ก็เป็นอันใช้ได้  แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน ก็ต้องไปดำเนินการโอนทางทะเบียนที่สำนักงานที่ดินหรือที่อำเภอ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 พฤศจิกายน 2554