ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046205 กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์สินีนาถ1 กุมภาพันธ์ 2555

    คำถาม
    กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัยค่ะ

    ดิฉันลองเสิร์ชหาแล้ว ไม่มีโจทย์ที่ใกล้เคียง เลยต้องขอความกรุณท่านอาจารย์ช่วยตอบข้อข้องใจค่ะ

    นาง ก แต่งงาน (จดทะเบียนสมรส) กับนาย ข เมื่อปี 2525  และหย่ากันเมื่อปี 2543  มีลูกหนึ่งคน

    หลังแต่งงาน ทั้งคู่ได้ซื้อบ้าน ที่ดิน ไว้เป็นจำนวนสองรายการ โดยที่นาง ก เป็นผู้กู้ร่วม มีชื่อในสัญญา   ตอนที่หย่ากันนั้นยังผ่อนไม่หมด และได้ตกลงกันด้วยวาจาว่าให้นาย ข ผ่อนต่อจนจบ และนาง ก ต้องการยกส่วนของตนให้ลูก

    ไม่มีบันทึกข้อตกลงต่อท้ายในการหย่า  คือสรุปสั้นๆ ว่าไม่มีหนี้สินและทรัพย์สิน  (นาย ข ไม่ต้องการหย่า แต่ตัวเองมีผู้หญิงอีกคน... ไม่ให้ค่าเลี้ยงดู และต้องการสิทธิการปกครองบุตรเพียงคนเดียว)

    ปัจจุบันนาย ข  ผ่อนหมดแล้ว แต่ยังไม่ได้โอน ยังเป็นชื่อแบงค์อยู่  อยากเรียนถามว่า

    1. ในกรณีนี้ นาง ก ยังมีสิทธิในอสังหาริมทรัพย์นี้ในฐานะผู้กู้ร่วมหรือไม่

    2. หากมี ควรดำเนินการอย่างไร

    ขอบพระคุณค่ะ และขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ท่านอาจารย์และครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรงค่ะ

    ด้วยความเคารพ
    สินีนาถ

    คำตอบ

    1. ก็ยังมีสิทธิอยู่ในฐานะเจ้าของร่วม

    2. ก็ต้องเรียกให้เขาแบ่งส่วนของคุณมา หากเขาไม่แบ่งก็คงต้องฟ้องร้อง ในระหว่างที่ธนาคารยังไม่ได้โอน คุณควรนำสัญญากู้ที่มีคุณเป็นผู้กู้ร่วมไปที่ธนาคารเพื่อแจ้งให้ธนาคารทราบว่าเวลาโอนให้ใส่ชื่อคุณเป็นเจ้าของร่วมด้วย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 กุมภาพันธ์ 2555