ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048156 การเบิกความเท็จหน้าต่อศาลทำได้ยังไง21 ตุลาคม 2555

    คำถาม
    การเบิกความเท็จหน้าต่อศาล

    มีสามีภรรยาคู่หนึ่งมีปัญหากันเรื่องหย่าเพราะสามีเป็นผู้ฟ้องหย่าแต่ภรรยาฟ้องแย้งแต่ศาลไม่รับฟ้องแย้ง โจทย์คือ สามี จำเลยคือ ภรรยา ศาลให้จำเลยไปฟ้องมาใหม่มาคราวนี้ก็มาเรื่องราวของโจทย์ที่ฟ้องจำเลย ก็มีเรื่องราวยาวมาประมาณเกือบ 2 ปีจนทำหนังสือประนีประนอมยอมความตกลงเรื่องทรัพย์สินกันเป็นที่เรียบร้อย โจทย์จึงเอาหนังสือประนีประนอมยอมความมาหย่าตามคำสั่งศาลและจำเลยก็มาหย่าด้วยกันที่อำเภอตามคำสั่งศาลด้วยเช่นกัน แต่ต่อมาจำเลยได้มายื่นคำร้องฟ้องศาลขอเพิกถอนการจดทะเบียนหย่าเพราะอ้างว่าโจทย์ยังคืนสินสมรสไม่ครบและเบิกความต่อศาลว่าโจทย์จดทะเบียนหย่าแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยที่จำเลยมิได้ยินยอมศาลจึงเช่ื่อในสิ่งที่จำเลยพูดต่อมาศาลจึงมีคำพิพากษาให้มีการเพิกถอนใบหย่าตามคำฟ้องของจำเลย  แต่เรื่องก็ยังไม่จบเพราะความเป็นจริงแล้วจำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันดังที่กล่าวมาแต่ข้างต้นแล้ว เพราะหลังจากโจทย์และจำเลยได้หย่ากันได้ไม่เท่าไหร่โจทย์ก็ได้มาจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นภรรยาที่จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฏหมายคนปัจจุบันก็ได้รับความเสียหาย เพราะจำเลยได้อ้างคำพิพากษาศาลเพิกถอนใบหย่าที่จำเลยได้ยื่นคำร้องฟ้องศาลไปนั้นจำเลยได้เบิกความเท็จที่ศาลว่าจำเลยมิได้ไปจดทะเบียนหย่าด้วยทำให้ศาลมิได้รู้เรื่องราวว่าเป็นเช่นไรก็หลงเชื่อจำเลยจึงทำให้ศาลเพิกถอนใบหย่า ต่อมาจำเลยมาเอาร้องเรียนผิดวินัยกับภรรยาใหม่ที่หน่วยงานของภรรยาใหม่ของอดีตสามีจำเลย ทำให้ภรรยาซึ่งไม่ได้รู้เรื่องราวว่าเป็นเช่นไรมาก่อนจึงได้รับความเสียหายอย่างมาก เพราะการที่ภรรยาใหม่ของอดีตสามีจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับอดึตสามีึจำเลยนั้นก็เพราะภรรยาใหม่ของอดีตสามีจำเลยเห็นว่าอดึตสามีจำเลยนั้นเป็นโสดไม่มีภรรยาจึงได้จดทะเบียนสมรสด้วย ถามว่าภรรยาเก่าจะมาร้องเรียนเอาผิดวินัยกับภรรยาใหม่ได้หรือไม่ ว่าภรรยาใหม่มีพฤติกรรมชู้สาวกับอดีตสามีตนเอง

    คำตอบ
    การที่ภรรยาใหม่จดทะเบียนสมรสกับสามี ในขณะที่มีหลักฐานว่าสามีหย่าจากภรรยาเก่าแล้ว ภรรยาใหม่จึงไม่ได้ทำผิดอะไร เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภรรยาใหม่ด้วยซ้ำไป  แต่ภายหลังจากที่ศาลเพิกถอนการหย่านั้นแล้ว (ซึ่งยังน่าสงสัยว่าคำพิพากษามีรายละเอียดว่าอย่างไร ) และถ้าคดีถึงที่สุดแล้ว ภรรยาใหม่ก็คงต้องเลิกกับสามี มิฉะนั้นก็อาจถูกร้องเรียนได้ แต่ถ้าคดียังไม่ถึงที่สุด ก็ยังไม่เป็นไร ยังเป็นภรรยาสามีกันต่อไปได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    21 ตุลาคม 2555