ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049907 จัดการทรัพย์สินก่อนหย่าk196618 มีนาคม 2557

    คำถาม
    จัดการทรัพย์สินก่อนหย่า

    1) จดทะเบียนสมรสกับสามีมาตั้งแต่2533 แล้วไปจดกันอีกครั้งตอนปี2539 โดยมีเหตุผลความจำเป็นบางอย่าง  ถ้าตอนนี้ต้องการหย่าจะต้องใช้ฉบับใดในการอ้างอิงจึงจะมีผลทางกฎหมาย (ฉบับแรกก็ยังอยู่ ไม่ได้จดทะเบียนหย่า)

    2) ขณะอยู่ร่วมกันได้ซื้อห้องชุดในชื่อของตนเอง ผ่อนหมดแล้ว ขณะนี้โอนอยู่ในชื่อของตนเอง  ถ้าฝ่ายชายไม่ได้ต้องการทรัพย์สินนี้  ตอนทำบันทึกการหย่าควรลงบันทึกว่าอย่างไรจึงจะไม่สามารถฟ้องร้องขอแบ่งสินสมรสได้อีกต่อไป

    3) ขณะอยู่ร่วมกันได้ซื้อบ้านพร้อมที่ดินโโดยใช้ชื่อกู้ร่วม  แต่ขณะนี้ยังผ่อน    ไม่หมด (ภาระอีกประมาณ 10 ปี) โดยฝ่ายชายเป็นผู้ผ่อนชำระ แต่ต้องการยกให้เป็นสิทธิ์ของบุตรชายซึ่งขณะนี้อายุ 17 ปี  หลังจากหมดภาระหนี้สินแล้ว  ตอนทำบันทึกการหย่าควรลงบันทึกว่าอย่างไรจึงจะเป็นไปตามที่ต้องการ  โดยไม่มีเหตุให้ฟ้องร้องขอแบ่งสินสมรสหรือเรียกร้องเอาจากบุตรในภายหลังได้อีก

    4) จากข้อ 3 ถ้าต้องการขายบ้าน ต้องให้ฝ่ายชายยินยอมหรือไม่ และถ้าฝ่ายชายยินยอมแล้วและตกลงที่จะยกเงินที่ขายได้ทั้งหมดให้แก่ฝ่ายหญิง  ตอนทำบันทึกการหย่าควรลงบันทึกว่าอย่างไรจึงจะไม่สามารถฟ้องร้องขอแบ่งสินสมรสได้อีกในภายหลัง

    5) ขณะอยู่ร่วมกันได้ซื้อรถยนต์โดยใช้ชื่อฝ่ายหญิง  ตอนทำบันทึกการหย่าควรลงบันทึกว่าอย่างไร จึงจะไม่สามารถฟ้องร้องขอแบ่งสินสมรสได้อีกในภายหลัง

    6) ทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น เงินในบัญชี พันธบัตร หรือหุ้น (ต่างอยู่ในชื่อบัญชีของแต่ละคน ไม่มีบัญชีร่วม) ถือเป้นสินสมรสหรือไม่  และตอนทำบันทึกการหย่าควรลงบันทึกว่าอย่างไร จึงจะไม่สามารถฟ้องร้องขอแบ่งสินสมรสกันได้อีกในภายหลัง

    7) ขณะอยู่ร่วมกัน  ฝ่ายชายเคยถูกฟ้องร้องเรื่องบัตรเครดิต  และได้ไปทำการรอมชอมกับเจ้าของบัตรเครดิตแล้ว  หลังการหย่าหากเกิดเหตุการณ์ฟ้องร้องขึ้นอีก หรือฝ่ายชายไม่ยอมชำระหนี้เดิมที่ทำเรื่องรอมชอมไว้แล้ว  ฝ่ายหญิงต้องเข้าไปร่วมรับผิดชอบอีกหรือไม่ เพราะหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะทำการหย่า  ควรดำเนินการอย่างไรในส่วนนี้จึงจะไม่ต้องเข้าไปร่วมรับผิดชอบหากหย่ากันแล้ว

    8) การเรียกร้องค่าครองชีพ กรณีฝ่ายหญิงไม่ได้ทำการสมรสใหม่ทำได้หรือไม่หากฝ่ายหญิงมีงานที่มั่นคงอยู่แล้ว  แต่เสียประโยชน์จากที่เคยได้รับก่อนทำการหย่า(ซึ่งสิ่งที่เคยได้ไม่เคยนำมาใช้เพื่อตนเองเลย ทุอย่างเป็นไปเพื่อลูกทั้งสิ้น)

    9) ถ้าฝ่ายหญิงไม่ยอมหย่าจะดีกว่าหรือไม่  ถึงแม้จะต้องอดทนกับการที่สามี   ไม่เคยดูแล(เพราะเขาคิดว่าสามารถดูแลตนเองได้) และมีหญิงอื่นเสมอทั้งที่มีความสัมพันธ์แบบลึกซึ้งหรือแค่ฉาบฉวยก็ตาม  ทั้งนี้เพื่อปกป้องสิทธิ์ที่บุตรควรจะได้ในอนาคต

    กราบเรียนถามท่านอาจารย์ด้วยความเคารพ  หนูตัดสินใจไม่ได้  ทำอย่างไรถึงจะดีที่สุดกับลูกของหนูที่สุด 

    คำตอบ

    1. เวลาไปหย่า ก็เอาไปทั้ง ๒ ฉบับ จะได้คืนเขาเสียทีเดียว อันที่จริงถ้าเป็นการจดทะเบียนกับคนเดิม ก็ไม่น่าจะจดได้ อาจเป็นเพราะสะกดชื่อหรือนามสกุลให้แตกต่างกันก็ได้

    2. ก็ควรบันทึกไว้ในบันทึกการหย่าเสียให้เรียบร้อยว่าเขาไม่ติดใจในทรัพย์สินนั้น

    3.-6 ก็บันทึกไปตามที่ต้องการนั่นแหละ บันทึกเสียให้ละเอียดว่าใครจะต้องรับผิดชอบในการส่งเงินให้เจ้าหนี้  และถ้าสามารถโอนใส่ชื่อลูกชายได้ก็ทำเสียเลย อย่าไปรอจนชำระหนี้หมด เพราะถึงตอนนั้นจิตใจอาจเปลี่ยนแปลงได้

    7. เมื่อหย่าแล้วโดยปกติก็ไม่ต้องไปรับผิดด้วย เว้นแต่ฝ่ายเจ้าหนี้เขาจะค้นคว้ามาได้ว่าเป็นหนี้เก่าที่จะต้องร่วมกันรับผิดชอบเพราะเอามาใช้ในครอบครัว

    8. การที่ฝ่ายใดจะต้องรับผิดชอบเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง ขึ้นอยู่กับว่าใครมีฐานะดี และใครมีฐานะลำบาก คนลำบากก็ย่อมมีสิทธิได้รับค่าเลี้ยงดู ไม่จำเป็นต้องหญิงหรือชายเสมอไป

    9. คงแนะนำไม่ได้ว่าควรอยู่หรือหย่า เพราะไม่รู้เหตุการณ์และความรู้สึกที่มี  เอาเป็นว่า ถ้าชั่งน้ำหนักแล้วเห็นว่าอยู่ด้วยกันแล้วยังมีสิ่งที่คุ้มค่า ก็อยู่ไป (แม้จะต้องอดทนบ้าง) แต่ถ้าอยู่แล้วไม่คุ้มค่า ก็แยกกันไป ต่างคนต่างจะได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 มีนาคม 2557