ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014745 เกี่ยวกับ กฏหมายล้มละลายกฤช22 สิงหาคม 2548

    คำถาม
    เกี่ยวกับ กฏหมายล้มละลาย

    เรียน  ท่านอาจารย์มีชัย

             การออกกฏหมายหรือการแก้ไขกฏหมายนั้น ต้องมีความยุติธรรมสำหรับคนในชาติและในสังคมนั้นๆ  แต่การแก้ไขกฏหมายล้มละลายฉบับล่าสุดนั้น ไม่มีความเป็นธรรมกับทุกคนเลยครับเช่น  บุคคลใดที่โดนล้มละลายจากกฏหมายฉบับเก่า ต้องล้มละลายถึง 10ปี  แต่กฏหมายฉบับใหม่ล้มละลายเพียงแค่ 3ปี  ถ้าสมมุติว่า นายก. ล้มละลายเมื่อปี 43 โดยกฏหมายเก่า กว่าจะพ้นจากการล้มละลายก็ต้อง ปี 53  แต่นายข. ล้มละลาย ปี 47 โดยกฏหมายฉบับใหม่ นายข.จะพ้นจากล้มละลายในปี 50 โดยที่นายก.ยังเหลือเวลาอีก 3ปี ถึงจะพ้นจากการล้มละลาย  แล้วอย่างนี้กฏหมายจะมีความยุติธรรมได้อย่างไรครับ  ถ้าเป็นเช่นนี้ ผมว่านายก.น่าจะฟ้องร้องรัฐ ในการออกกฏหมายที่ไม่เป้นธรรมได้นะครับ  เพราะกฏหมายต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกคน

             เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรครับ

    คำตอบ

    เรียน คุณกฤช

           ในชั้นที่ออกกฎหมายล้มละลายเมื่อปี ๔๑ - ๔๓ นั้น เป็นช่วงที่รัฐบาลกำลังอยู่ภายใต้การบงการของ IMF กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่นำมาแปรเป็นกฎหมายนั้น มุ่งไปสู่การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเจ้าหนี้ เมื่อร่างกฎหมายมาถึงวุฒิสภา ๆ ในขณะนั้น (ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง) ไม่เห็นด้วย ได้พยายามแก้ไขหลายประการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่คนไทยที่ส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ แต่รัฐบาลไม่ยอม แต่วุฒิสภาก็สามารถเอาชนะด้วยการแก้ไขให้การล้มละลายมีอายุเพียงแค่ ๓ ปี โดยหวังว่าจะเป็นอานิสงค์แก่คนล้มละลายทั้งที่ล้มอยู่แล้วและที่จะล้มต่อไป  แต่เมื่อกฎหมายออกมาใช้บังคับแล้ว ศาลแปลความไปว่า อายุ ๓ ปีดังกล่าวใช้ได้แต่เฉพาะคนที่ล้มละลายภายหลังกฎหมายดังกล่าวออกมาใช้บังคับเท่านั้น ไม่รวมถึงคนที่ล้มละลายมาก่อนหน้านั้น ความไม่เป็นธรรมจึงเกิดขึ้น แต่ความไม่เป็นธรรมนั้นไม่ใช่เกิดจากตัวบทกฎหมาย หากแต่เกิดจากการแปลความของศาล จึงเป็นเรื่องจนใจ  อย่างไรก็ตามในขณะนี้กำลังมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้คลุมไปถึงผู้ล้มละลายทุกรายแล้ว

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    22 สิงหาคม 2548