ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    015812 กฏหมายล้มละลายพงศ์98911 มกราคม 2549

    คำถาม
    กฏหมายล้มละลาย
    ผมกู้เงินผ่อนบ้านกับธนาคารแห่งหนี่งจำนวนสี่แสนบาทและได้ผ่อนชำระค่างวดกับธนาคารมาระยะหนึ่ง แต่เมื่อมาถึงยุคเศษฐกิจล่มผมไม่สามารถผ่อนส่งต่อได้ ต่อมาทางธนาคารเรียกผมไปพบที่ศาลรัชดา ผมไม่มีเงินที่จะผ่อนส่งอีกต่อไปจึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านคืนและยอมรับสภาพหนี้สินที่ผิดสัญญากับธนาคารถูกปรับดอกเบี้ยคิดเป็นเงินร่วมหกแสนกว่าบาท ศาลให้กลับมารอที่บ้านเพื่อรอเอกสารเรื่องผ่านไปเกือบสองปีแล้วธนาคารก็ยังไม่ยึดบ้านคืนและไม่มีการติดต่อมาแต่อย่างใด ในกรณีนี้ถ้าธนาคารนำบ้านไปขายทอดตลาดแล้วยังขาดเงินอยู่อีกจากเป้าทีธนาคารกำหนด ทางธนาคารจะมีสิทธิ์มายึดทรัพย์สินที่ผมมีอยู่เพื่อแปรเป็นเงินขดใช้หนี้เพิ่มขึ้นอีกเช่น บ้าน-รถยนต์หรือสิ่งของอื่นๆที่ใช้ดำรงชีพ ทางธนาคารจะยึดได้ใหมครับ ถ้าผมเป็นบุคคลล้มละลายและคำว่าบุคคลล้มละลายต้องมีหนี้สินเท่าไรและมีหนทางใดที่จะแก้ไขได้บางครับ กลุ้มใจมาก ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
    คำตอบ

          ในตอนที่ไปตกลงกับธนาคารที่ศาลนั้น เป็นการตกลงกันนอกศาล หรือตกลงกันต่อหน้าศาลโดยศาลทำสัญญาประนีประนอมให้  ถ้าเป็นการประนีประนอมโดยศาล ก็ต้องลองอ่านคำสั่งศาลให้ละเอียดว่าจะต้องรับผิดมากน้อยเพียงใด  ถ้าเป็นการตกลงกันเองโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือประนีประนอมยอมความกัน ธนาคารอาจปฏิเสธข้อตกลงนั้นเสียก็ได้  ซึ่งถ้าเขาปฏิเสธ คุณก็ยังคงต้องรับผิดในหนี้เดิมบวกด้วยดอกเบี้ยค้างชำระไม่เกิน ๕ ปี  และถ้าบ้านที่เขายึดไปนั้นยังไม่คุ้มกับหนี้ เขาก็มีสิทธิมายึดทรัพย์สินอื่นได้

         การล้มละลายต้องมีหนี้ ๑ ล้านบาทขึ้นไป


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 มกราคม 2549