ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    020809 ล้มละลายสงสัย28 กุมภาพันธ์ 2550

    คำถาม
    ล้มละลาย

    ผมผ่อนบ้านกับธนาคารแล้วส่งไม่ไหวมูลค่า 500,000 บาท จึงถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดและทางธนาคารขายทรัพย์ได้ประมาณ 470,000 บาท ผมถูกฟ้องล้มละลายมูลค่าหนี้ 1ล้านกว่าบาท ซึ่งเมื่อสอบถามแล้วพบว่าเป็ค่าเงินต้นและดอกเบี้ย ส่วนที่ขายได้แล้วนำไปตัดดอกเบี้ยและมีการเรียกประชุมเจ้าหนี้แล้วแต่เจ้าหนี้ไม่มาทางเจ้าหน้าที่กรมบังคับคดีบอกว่าต้องรายงานศาลเพื่อพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ในการฟ้องล้มละลายโจทก์ระบุว่าลูกหนี้ไม่มีอาชีพ

    ต้องการทราบว่าถ้าผมรับราชการจะมีการรายงานไปที่หน่วยงานหรือไม่และจะมีผลกระทบกับงานราชการหรือไม่ ควรจะดำเนินการแก้ไขอย่างไรดีครับ

     

    คำตอบ

    เมื่อศาลสั่งให้คุณเป็นคนล้มละลายแล้วคุณนั่นแหละมีหน้าที่ต้องรายงานต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าคุณทำงานที่ไหน มีรายได้อะไร เพื่อเจ้าพนักงานเข้าจะได้ไปยึดเงินเดือน และทรัพย์สินอื่น และผลแห่งการล้มละลายก็จะทำให้คุณต้องถูกออกจากราชการ   ทางแก้ไขก็คือไปติดต่อกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพื่อเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อประนอมหนี้ หากประนอมหนี้ได้คุณก็อาจไม่ต้องล้มละลาย   การเป็นหนี้เขาก็ดี การถูกฟ้องก็ดี มักจะนึกกันว่าถ้าไม่ไปติดต่อไม่ไปปรากฏตัว ก็จะไม่มีใครทราบตื้นลึกหนาบาง แล้วจะพ้นจากหนี้นั้น ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด และเป็นการซ้ำเติมให้เรื่องที่อาจไม่เลวร้ายกลายเป็นเลวร้ายจนแก้ไม่ได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 กุมภาพันธ์ 2550