ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    021354 บุตรกับการล้มละลายของบิดาลูกของพ่อ13 เมษายน 2550

    คำถาม
    บุตรกับการล้มละลายของบิดา

    เรียน  อาจารย์มีชัย  ที่เคารพ

    ขอเรียนถามดังนี้ค่ะ

    1. บิดากู้เงินจากธนาคารตั้งแต่บุตรยังไม่บรรลุนิตภาวะ  ปัจจุบันบิดาไม่มีเงินใช้หนี้  หากถูกฟ้องล้มละลายแล้ว  บุตรต้องรับผิดชอบในหนี้สินของบิดาหรือไม่และบุตรจะถูกฟ้องล้มละลายร่วมกับบิดาหรือไม่ (ปัจจุบันบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว)

    2.  หากบุตรรับราชการจะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง  ถ้าบิดาถูกฟ้องล้มละลาย

    3. บิดากู้เงินโดยใช้ที่ดินซึ่งเป็นเป็นชื่อของมารดาค้ำประกัน  หากถูกฟ้องล้มละลาย  มารดาจะถูกฟ้องล้มละลายหรือไม่

    4. หากบิดาหรือมารดาเสียชีวิต  บุตรต้องรับผิดชอบในหนี้สินนั้นหรือไม่  และหากมีบุตร 3 คน  ศาลจะให้เฉลี่ยหนี้สินเท่า ๆ  กัน  หรือไม่

    5. บิดากู้เงินราว ๆ 1 ล้านบาท  ปัจจุบันเงินต้นและดอกเบี้ย  รวม  3  ล้านบาท  เราขอให้ศาลผ่อนผันเป็น 1 ล้านบาท  และแบ่งใช้เดือนละ 3,000 บาท  เป็นเวลา 30 ปี ได้หรือไม่

    กราบขอบพระคุณ

    คำตอบ

    เรียน ลูกของพ่อ

       1. ไม่เกี่ยวกัน หนี้ของใครก็เป็นหนี้ของคนนั้น

       2. ไม่มีผลกระทบอะไร นอกจากได้ชื่อว่ามีพ่อเป็นคนล้มละลาย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร

       3. ไม่ถูก เว้นแต่มารดาจะเป็นผู้ค้ำประกันหนี้นั้น

       4. ไม่ต้องรับผิดชอบ เว้นแต่จะได้รับมรดกจากบิดา ซึ่งก็รับผิดชอบเพียงเท่าที่ไม่เกินมรดกที่ได้รับมา

       4. ต้องเจรจากับเจ้าหนี้ ถ้าเจ้าหนี้ยินยอมศาลก็คงไม่ขัดข้อง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    13 เมษายน 2550