ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    021727 ฟ้องล้มละลายทิพธัญญา12 พฤษภาคม 2550

    คำถาม
    ฟ้องล้มละลาย

    ดิฉันเป็นข้าราชการถูกธ.กรุงศรีฯฟ้องล้มละลายในวงเงิน 1,100,000 บาท จากวงเงิน 450,000  บาท

    1.ดิฉันขอขึ้นศาลในจังหวัดที่ปฏิบัติงาน นัดแรก  24 สิงหาคม 2550 ที่จะถึง  ทนายขอให้สู้เพราะ ธ.กรุงศรี ไม่ไม้ฟ้องยึดทรัพย์ก่อน แต่ข้ามมาฟ้องล้มละลายเลย เพราะคดีหมดอายุความ เมษายน 2550  (ยื่นล้มละลายก่อนหมดอายุความ)  ทนายบอกว่า  เรามีหลักฐานคือ มีบ้านพร้อมที่ดิน มีรถยนต์  เป็นข้าราชการ  มีหลักฐานรับรองเงินเดือน มีเจ้านายไปรับรองว่าเราเป็นข้าราชการ มีใบประกอบวิชาชีพ โดยสำเนายื่นพร้อมขอให้ยกฟ้อง   (หลักฐานทั้งหมดคือบ้านที่ดิน รถยนต์  เป็นอิสระจากไฟแนนซ์  ส่วนที่ฟ้องคือบ้านหลังเก่า ก่อนที่จะจดทะเบียนสมรสกับสามีคือเรื่องเกิดก่อนที่จะมาจดทะเบียนสมรสกับสามี)

    1.ศาลจะยกฟ้องหรือไม่

    2.จะต้องขึ้นศาลอีกกี่นัด

    3.คิดว่าจะไม่ประนอมหนี้เพราะธ.กรุงศรีก็ขายบ้านได้แล้ว(บ้านที่ถูกฟ้อง) คิดถูกต้องหรือไม่ ขอให้ท่านแนะนำทางออกที่สมควรให้ด้วยค่ะ เพราะกลัวสามีและลูกต้องมารับบปาที่ตัวเองสร้างไว้   และกลัวที่สุดคือคิดสั้น   ในระหว่างรอขี้นศาลต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

    คำตอบ

    1.  ถ้าคุณพิสูจน์ได้ว่าคุณไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คือ ยังอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ได้ ศาลก็อาจยกฟ้องได้ เพราะยังไม่เข้าข่ายที่จะล้มละลาย

    2. ทำไมไม่ถามทนายความเล่า คนอื่นไม่มีทางรู้ได้หรอก

    3. การประนอมหนี้คือการต่อรองให้เจ้าหนี้ลดหนี้ลงมาและเราอยู่ในฐานะที่จะชำระหนี้ให้เขาได้ ก็จะเป็นประโยชน์กว่าการไม่ประนอมหนี้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 พฤษภาคม 2550