ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024984 การถูกสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ผู้ที่น่าสงสาร6 ธันวาคม 2550

    คำถาม
    การถูกสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์

    เรียนท่านอาจารย์

    ดิฉันเป็นแฟนกับผู้ที่ถูกสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ เค้าเล่าให้ดิฉันฟังว่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซื้อบ้านไว้ แต่ผ่อนไม่ไหว เนื่องจากธุรกิจเจ๊ง แล้วถูกธนาคารยึดและฟ้อง ซึ่งบ้านได้ขายทอดตลาดไปนานแล้วและไม่ได้ไปดำเนินการใดๆ เพราะไม่ทราบเรื่องกฏหมาย หลังจากนั้นก็สู้ชีวิตมาตลอด จนสอบเข้าบรรจุเป็นข้าราชการได้จนถึงปัจจุบัน ไม่เคยคาดคิดว่า เมื่อเดือนตุลาคม 2550 ที่ผ่านมา จะได้รับคำสั่งศาลประกาศให้เป็นผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันนี้ตนได้ทำงานเป็นข้าราชการอยู่ มีความทุกข์ใจเป็นอย่างมาก ดิฉันขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่า

    1. กรณีเช่นนี้ต้องทำอย่างไรก่อนดีคะ

    2. และทรัพย์สินที่มีอยู่ตอนนี้ คือ รถยนต์ 1 คัน และตำแหน่งข้าราชการจะต้องให้ออกไหมคะ

    3. ถ้าขอเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้จะทำได้ไหมคะ และต้องทำอย่างไร ดิฉันสงสารเค้ามาก เพราะกำลังจะได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น

    ขอบพระคุณค่ะ

     

     

    คำตอบ

    เรียน ผู้ที่น่าสงสาร

    1. รีบไปศาลเพื่อดูรายละเอียดของคดี จะได้รู้ว่าจะมีลู่ทางต่อสู้ได้อย่างไร

    2. ถ้าล้มละลาย ทรัพย์อะไร ๆ ที่มูลค่าเขาก็มายึดได้ทั้งนั้นแหละ เว้นแต่ที่นอนหมอนมุ้ง หรือเครื่องใช้ประจำวัน  และถ้าศาลสั่งให้ล้มละลายก็คงต้องพ้นจากราชการ

    3. จากเหตุการณ์แสดงให้เห็นว่าเป็นคนที่ไม่ได้ใฝ่ใจในความรู้ที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง  เมื่อไม่มีเงินชำระหนี้แล้วก็ไม่ได้ใส่ใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น หนี้นั้นจึงเพิ่มพูนขึ้นจนกลายเป็นเหตุให้ถูกฟ้องล้มละลายได้  ด้วยพฤติการณ์อย่างนี้ อยู่ในราชการไปนาน ๆ ก็คงลำบาก  เพราะขนาดเรื่องคอขาดบาดตายเกี่ยวกับตนโดยตรงยังไม่ใส่ใจ จะไปใส่ใจอะไรกับราชการให้เจริญได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 ธันวาคม 2550