ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    025256 บุคคลล้มละลายพิมพ์มาดา17 ธันวาคม 2550

    คำถาม
    บุคคลล้มละลาย

    เรียน อาจารย์มีชัย

    ดิฉันมีปัญหาเป็นหนี้เรื่องบ้านกับธนาคารซึ่งเป็นการขาดชำระตั้งแต่ปี 40 ปัจจุบันได้รับจดหมายจากสำนักงานทนายให้ชำระหนี้ 2 ครั้ง ได้ติดต่อไปที่ธนาคารแจ้งว่ามีหนี้ทั้งหมดประมาณ 1,300,000 บาท ทั้งที่ตอนที่หยุดจ่ายเป็นหนี้อยู่หกแสนและธนาคารได้ขายบ้านทอดตลาดและเหลือเป็นเงินจำนวนดังกล่าวค่ะขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ

    1.ควรจะทำอย่างไรดี จะประนอมหนี้ได้มั๊ยค่ะ ได้โทรไปที่ธนาคารขอลดดอกเบี้ยและขอผ่อนชำระเป็นงวด ได้รับคำตอบว่าลดให้ได้แต่ต้องจ่ายเป็นก้อน

    2.ถ้าปล่อยให้ล้มละลายจะได้มั๊ยค่ะ ธนาคารบอกว่าอายุความเหลืออีก 1 ปีประมาณเดือน 6 ปี51หน้าต้องโดนฟ้องแน่ค่ะ

    3.ถ้าจ่ายก็สามารถจ่ายได้เป็นเดือน(ยินดีจะจ่ายค่ะ) / ถ้าขอส่วนลดจากธนาคารจะต่อรองลดได้ประมาณเท่าไหร่ค่ะ

    4.ขอทราบข้อมูลของการเป็นบุคคลล้มละลายว่ามีเงื่อนไขอย่างไร / ผลกระทบ / อายุความ / และจะสามารถดำรงชีวิตได้อย่างคนปกติหรือไม่

    ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

    พิมพ์มาดา

     

    คำตอบ

    1. การประนอมหนี้ย่อมทำได้เสมอ เพราะการประนอมหนี้คือการตกลงรว่มกันทั้งสองฝ่าย คนอื่นไม่เกี่ยว

    2. เหตุที่หนี้หกแสน กลายมาเป็นล้านกว่า และกว่าจะถึงปีหน้าก็คงใกล้สองล้าน (ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นทุกวันในอัตราหฤโหด) ก็เพราะคุณปล่อยไปโดยไม่สนใจ ถ้าเจรจากับเขาเสียตั้งแต่ตอนนั้นก็อาจผ่อนส่งจนใกล้จะหมดแล้ว  ถ้าคุณจะปล่อยให้ล้มละลายอีก ก็คงจะยิ่งหนักขึ้นไปอีก

    3.-

    4. การล้มละลายทำให้บุคคลไม่สามารถทำนิติกรรมใดได้โดยลำพัง รายได้ทั้งหมดที่หาได้จะต้องนำส่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนเจ้าพนักงานจะให้ใช้เท่าไรเขาก็จะกำหนดให้ ก็ลองคิดดูก็แล้วกันว่าชีวิตจะปกติหรือไม่

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    17 ธันวาคม 2550